การประเมินประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืน

การระบุและจัดลำดับประเด็นสาระสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียถือเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดแผนการดำเนินงานขององค์กรทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการ นอกเหนือจากการวางเป้าหมายการพัฒนาและการระบุตัวชี้วัดประสิทธิภาพการดำเนินงาน (KPI) ซึ่งต่างมีส่วนในการส่งเสริมให้องค์กรใช้ศักยภาพที่มีอย่างเต็มที่

บริษัทฯ ได้ทำการประเมินประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืน โดยปฏิบัติตามแนวทางมาตรฐาน Global Reporting Initiative (GRI) อย่างเคร่งครัด เพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจของ บริษัทฯ มีการดำเนินงานโดยคำนึงถึงบริบทที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การได้มาซึ่งประเด็นสาระสำคัญของบริษัทฯ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ซึ่งในทุกรอบของการจัดทำรายงานจะต้องมีดำเนินการตามลำดับขั้นตอนเช่นนี้ทุกครั้ง

1
การระบุประเด็นสำคัญ
2
การจัดลำดับความสำคัญ
3
การตรวจสอบและอนุมัติ
4
การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
5
การรายงานที่ยั่งยืน

Top Materiality Issue

  • 1
    การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
  • 4
    สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้บริโภค
  • 7
    การบริหารจัดการพลังงานและสภาพภูมิอากาศ
  • 9
    บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน
  • 10
    การบริหารจัดการของเสีย
  • 2
    นวัตกรรมผลิตภัณฑ์
  • 3
    คุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
  • 5
    การตลาดที่รับผิดชอบและฉลากสินค้า
  • 6
    การเป็นพลเมืองที่ดีและทำประโยชน์เพื่อสังคม
  • 8
    การดูแลทรัพยากรน้ำ
  • 11
    การพัฒนาทรัพยากรบุคคล
  • 12
    การปฏิบัติที่ดีด้านแรงงาน

เมื่อได้ผลลัพธ์ของการประเมินที่มาจากการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและ ภายนอกองค์กร หน่วยงานด้านความยั่งยืน มีหน้าที่ทบทวนและระบุประเด็นสำคัญที่อาจเกิดขึ้น และมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่คุณค่า ทั้งในบริบทความยั่งยืนระดับโลกและในระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ประเด็นสาระสำคัญที่ได้จะถูกนำไปประเมินระดับความสำคัญด้วยแผนภาพเมทริกซ์ โดยพิจารณาตามคะแนนเฉลี่ยของความเป็นไปได้ในแต่ละประเด็น

การประเมินสาระสำคัญประกอบด้วย การระบุ ประเด็นสาระสำคัญ การจัดอันดับตามความสำคัญตั้งแต่ระดับต่ำ ปานกลาง และสูง รวมถึงการระบุขอบเขตที่ เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ คณะกรรมการความยั่งยืน และ คณะกรรมการบริษัท ทำหน้าที่ตรวจสอบประเด็นสาระสำคัญ ก่อนที่คณะกรรมการบริษัทจะเป็นผู้รับรองในท้ายสุด โดยประเด็นสาระสำคัญที่ได้มีผลต่อการระบุหัวข้อในการ จัดทำรายงานสำหรับนำเสนอข้อมูลที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเรา

นอกจากนี้ ประเด็นที่ผ่านกระบวนการประเมิน จะถูกนำมาบูรณาการให้สอดคล้องกับการจัดการความเสี่ยงขององค์กร (ERM) เพื่อกำหนด และ พัฒนากิจกรรมการจัดการความเสี่ยงอย่างครอบคลุม

ความน่าจะเป็น มีความเป็นไปได้ต่ำ มีความเป็นไปได้ปานกลาง มีความเป็นไปได้สูง
คำจำกัดความ ไม่เกิดขึ้น
ภายใน 3 ปี
Rarely Happened
(1-2 times in last 3 years)
Already Happened
(3 times or more occasions within last 3 years.)
ผลกระทบ ต่ำ ปานกลาง สูง
คำจำกัดความ < 100 ลบ. และปัจจัยเชิงคุณภาพอื่นๆ 100-250 ลบ. และปัจจัยเชิงคุณภาพอื่นๆ > 250 ลบ. และปัจจัยเชิงคุณภาพอื่นๆ