ผลการดำเนินงาน

เป้าหมายปี 2568
*ปีฐาน 2561
ลดอัตราส่วนการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์*
40%

แนวทางการบริหารจัดการ

ด้วยความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นในขณะที่มีปริมาณทรัพยากรน้ำลดลง ผู้ผลิตเครื่องดื่มจึงต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการบริหารจัดการและปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำ เพราะน้ำเป็นวัตถุดิบหลักในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มของบริษัทฯ และเป็นทรัพยากรที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนท้องถิ่น โอสถสภาให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำทั้งในพื้นที่กระบวนการผลิตของบริษัทฯ และบริเวณโดยรอบ รวมถึงมีการประเมินความเสี่ยงทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์น้ำทั่วโลกทุกปี เพื่อหามาตรการและวิธีจัดการกับความเสี่ยงเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่อาจเกิดขึ้น

บริษัทฯ มีการจัดการน้ำเสียผ่านระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพสูง โดยน้ำเสียที่เกิดขึ้นจะถูกส่งเข้าระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อทำการบำบัดน้ำให้ได้คุณภาพตามที่กฎหมายกำหนดก่อนปล่อยออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะ สำหรับโรงงานที่อยู่ในนิคมฯ และในสวนอุตสาหกรรมจะมีการบำบัดน้ำเสียขั้นต้นก่อนส่งไปยังส่วนกลางของนิคมฯ และสวนอุตสาหกรรม

ปริมาณการใช้น้ำ
2,565,987
ลูกบาศก์เมตร

การดําเนินงานที่สําคัญ

ด้านการบริหารจัดการน้ำและน้ำเสีย

การจัดหาถังพักน้ำล้นเพื่อระบายความร้อน
นำน้ำส่วนที่ล้นคืนกลับเข้าถังพักเพื่อส่งต่อไปยังกระบวนการบำบัด
การรีไซเคิลน้ำ - ระยะที่ 2
การบำบัดน้ำทิ้งและนำกลับมาใช้ใหม่ภายในโรงงานของโอสถสภา
การนำคอนเดนเสทกลับมาใช้ป้อนกลับหม้อน้ำ
ดักจับคอนเดนเสทจากกระบวนการล้างทำความสะอาด & พาสเจอร์ไรส์ และนำกลับมาใช้ใหม่โดยการป้อนกลับไปยังหม้อน้ำ
การรีไซเคิลน้ำและการนำกลับมาใช้ซ้ำ (ลูกบาศก์เมตร)

การรีไซเคิลน้ำและการนำกลับมาใช้ซ้ำ

โอสถสภามีการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพน้ำทิ้งอย่างเคร่งครัดตามข้อกำหนดและกฎหมายท้องถิ่น โดยมีการรายงานผลไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดการจัดการที่เหมาะสม นอกจากนี้โอสถสภามีระเบียบปฏิบัติตามแนวทาง Reduce Re-use Recycle (3Rs) และยังคงเดินหน้าพัฒนาการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงการจัดการน้ำทิ้ง โดยอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มอัตราการรีไซเคิลน้ำและการนำกลับมาใช้ซ้ำ

การรีไซเคิลน้ำและการนำกลับมาใช้ซ้ำ
201,547 ลูกบาศก์เมตร

การประเมินความเสี่ยงด้านน้ำ

ในฐานะบริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชั้นนําของประเทศไทยโอสถสภาตระหนักดีว่า การจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพสามารถช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการดําเนินงานของเรา บริษัทฯ ได้ทําการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านน้ำในทุกๆ ปีโดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ AQUEDUCT ที่พัฒนาโดย WRI เพื่อวัดระดับการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำที่สามารถใช้ได้และประเมินความเสี่ยงด้านน้ำที่เกี่ยวข้องรวมถึงระบุตําแหน่งพื้นที่ที่เกิดความตึงเครียดด้านน้ำ

ในปี 2566 โอสถสภาได้ยกระดับการประเมินความเสี่ยงด้านทรัพยากรน้ำโดยได้ทําการสํารวจลักษณะทางกายภาพและบริบททางสังคมของพื้นที่การผลิตหลักจังหวัดพระนครศรีอยุธยาพร้อมทั้งขยายขอบเขตการประเมินความเสี่ยงให้ครอบคลุมมิติทางด้านสังคมแนวโน้มความพอเพียงและคุณภาพของทรัพยากรน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินและข้อกําหนด ด้านการใช้ทรัพยากรน้ำเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการดําเนินการและกําหนดมาตรการในการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม

% of factories in water stressed locations based on number of factories 91.67%
% of factories in water stressed locations based on COGS 91.67%
% of factories in water stressed locations based on Revenue 91.67%
Water Stress Location Number of factories % of factories in water stressed location
Extremely high 11 91.67%
High 0 0.00%
Medium to high 1 8.33%
Low to medium 0 0.00%
Low to medium 0 0.00%
Total 12 100.00%
No. Site Latitude Longitude Major basin name Manor basin name Location Baseline Water Stress Aqueduct (Latest)
1 Osotspa Public Company Limited 13.76066 100.630521 of Thailand Coast Sa Keo Thailand Extremely High (>80%)
2 Osotspa Plublic Company Limited 14.32296 100.602808 Chap Phraya Noi Thailand Extremely High (>80%)
3 Osotspa Plublic Company Limited 13,80443 100.766163 Gulf of Thailand Coast Sa Keo Thailand Extremely High (>80%)
4 Siam Glass Ayutthaya Company limited 14.32943 100,653881 Chap Phraya Noi Thailand Extremely High (>80%)
5 Siam Cullet Company Limited 14.31716 100.838118 Gulf of Thailand Coast Sa Keo Thailand Extremely High (>80%)
6 Greensville Company Limited 13.75915 100.784758 Gulf of Thailand Coast Sa Keo Thailand Extremely High (>80%)
7 Advanz Beverage Manufacturing 16.67474 96.2672154 Sittang Myanmar Coas Myanmar Medium to High (20-40%)