ผลการดำเนินงาน

2025 Target
% Employee engagement score
78%
2025 Target
Average training hour per employee
19.29 Hour

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

โอสถสภาได้จัดการฝึกอบรบเพื่อพัฒนาศักยภาพพนักงานทั้งในระดับหัวหน้างานและระดับปฏิบัติการ ซึ่งในปี 2566 มีโครงการที่สำคัญ ดังนี้

โครงการฝึกอบรม Frontline Leader Program

บริษัทฯ ได้จัดทำโครงการฝึกอบรม Frontline Leader Program โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำให้แก่หัวหน้างาน (Lead) เพื่อที่จะสามารถถ่ายทอดการปฏิบัติงานที่ถูกต้องไปยังพนักงานระดับปฏิบัติการได้อย่างมีความเข้าใจและถูกต้อง มุ่งสู่ผลิตภัณฑ์และบริการที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของผู้บริโภค รวมถึงปริมาณผลผลิตขององค์กรว่าจะได้รับมากน้อยเพียงใด จะก่อให้เกิดรายได้หรือขาดทุนเท่าใด ดังนั้นการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำให้กับหัวหน้างานทุกคน พัฒนาเป็นผู้นำยุคใหม่ที่มีความสามารถทั้งในการบริหารงานและบริหารคนต่อไปในอนาคตอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นสิ่งสำคัญ

ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างาน (Lead) ของบริษัทฯ 66 คน (เข้ารับการอบรม จำนวน 58 คน คิดเป็น)
88%
หัวหน้างาน (Lead) ที่เข้ารับการอบรม นำความรู้ที่ได้รับและนำเครื่องมือไปใช้ในการบริหารทีมให้มีประสิทธิภาพ ลดปัญหาเกี่ยวกับการทำความผิดของพนักงานในองค์กร น้อยกว่า
10 เคสต่อปี
หัวหน้างาน (Lead) ที่เข้ารับการอบรม สามารถนำเสนอผลงานให้กับผู้บริหารได้ตามหลักการ วิธีการนำเสนอตามโครงสร้างที่กำหนด
หัวหน้างาน (Lead) ที่เข้ารับการอบรม นำหลักการ Feedback ไปใช้ในการทำงานกับลูกน้องเป็นประจำทุก
2 เดือน

โครงการฝึกอบรม Be Proactive for Non-head

บริษัทฯ ได้จัดโครงการฝึกอบรมเพื่อให้พนักงานได้พัฒนา และเรียนรู้วิธีการเสริมสร้างขีดความสามารถในการทำงานเชิงรุก เป็นผู้นำตนเอง พร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจเพื่อก่อให้เกิดปัญญา โดยการมีทัศนคติในการทำงานเชิงรุกในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอย่างเป็นระบบผ่านการฝึกปฏิบัติ และสามารถประยุกต์ใช้ได้ด้วยตนเองเมื่อปฏิบัติงานจริง

ผู้เข้ารับการอบรม เป็นพนักงานที่ได้รับการคัดเลือก และส่งชื่อจากผู้บริหารหน่วยงานจำนวนทั้งสิ้น 70 คน
100%
ระดับความพึงพอใจโดยรวมของผู้เข้ารับการอบรม และนำไปต่อยอดใช้งานในหน่วยงานตนเอง มากกว่า
85%
ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ที่ได้รับ ไปปรับปรุงและสร้างสรรค์ให้เกิดโปรเจคใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ให้กับหน่วยงานตนเอง และภาพรวมขององค์กร อย่างน้อย 1 โครงการ ต่อ 1 หน่วยงาน

Osotspa Open House 2023

โอสถสภาเปิดบ้านให้กับน้องๆ คนรุ่นใหม่และบุคคลทั่วไปได้พบปะพูดคุยกับผู้บริหารมืออาชีพที่ฒโอสถสภา สำนักงานใหญ่ และโรงงานผลิตและบรรจุผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม (อยุธยา)

ในงานได้พบกับ Talk Session จากทีมผู้บริหารทุกสายงานที่มาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ขององค์กรอายุกว่า 130 ปี

  • Meet the CEO and Leaders โอกาสหายากในการพูดคุยแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิดกับ CEO เบอร์หนึ่งของบริษัทฯ และทีมผู้บริหารสายงานต่าง ๆ จากโอสถสภา เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์ วัฒนธรรม และเรื่องราวความท้าทายในการทำงานในธุรกิจ FMCG
  • Fast-Track Job Application โอกาสที่จะได้รู้จักตำแหน่งงานต่าง ๆ ที่โอสถสภาเปิดรับ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งงานประจำหรือตำแหน่งนักศึกษาฝึกงาน และสามารถสมัครได้ก่อนใคร
  • และกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ พบปะเพื่อนใหม่ และความรู้อื่น ๆ อีกมากมาย ที่งาน OSOTSPA Open House

Internship (นักศึกษาฝึกงาน)

O-Interns 2023 (Osotspa Internship Program) โปรแกรมฝึกงานที่เปิดโอกาสให้น้อง ๆ ได้เข้ามาเรียนรู้ผ่านการทำงานจริงโดยมุ่งเน้นการทำโปรเจคที่น่าสนใจตลอดระยะเวลาในการฝึกงาน เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้ พัฒนาทักษะในด้านต่าง ๆ โดยมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่านักศึกษาทุกคนจะได้นำเอาความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกงานไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคมต่อไปในอนาคต

พนักงาน

จำนวนแรงงานทั้งหมด

จำแนกตามสัญชาติ

การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน

โอสถสภามีการจัดทำการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานโดยแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ การบริหารผลการปฏิบัติงาน,การประเมินผลรอบทิศแบบ 360 องศา และ การประเมินผลแบบทีม โดยมีรายละเอียดดังนี้

(1) การบริหารผลการปฏิบัติงาน

บริษัทฯ มีระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management System) เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ การปฏิบัติงานของพนักงานให้บรรลุตามเป้าหมายและส่งเสริมเป้าหมายหลักขององค์กรในภาพรวม อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมให้พนักงานได้รับการพัฒนา สามารถมีความก้าวหน้าในสายอาชีพของตนเอง และได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมตามผลการปฏิบัติงาน

หลักเกณฑ์ในการประเมิน:

ในการประเมินของระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management System) มีการตั้งเป้าหมาย ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน และการวัดผลอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีกระบวนการเป็นระยะ ดังนี้

  • การตั้งเป้าหมายประจำปี (Objective Setting) โดยกำหนดเป้าหมายของผลงาน และแผนงานต่าง ๆ ในช่วงต้นปี เพื่อให้พนักงานใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานและพัฒนาตนเองในปีนั้น ๆ
  • การทบทวนผลการปฏิบัติงานกลางปี (Mid-Year Review) โดยจัดให้มีการทบทวนผลการปฏิบัติงานในช่วงกลางปี และติดตามความคืบหน้า เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนด โดยมีกระบวนการสอนงาน และการให้ผลสะท้อนกลับ (feedback) จากหัวหน้างานแก่พนักงาน
  • การประเมินผลการปฏิบัติงานปลายปี (Performance Appraisal) โดยจัดให้มีการเปรียบเทียบเป้าหมายที่กำหนดไว้กับผลงานที่เกิดขึ้นจริง เพื่อวัดความสำเร็จของการปฏิบัติที่ผ่านมาตลอดทั้งปี รวมทั้งหาจุดที่ต้องพัฒนา และนำผลที่ได้ไปกำหนดเป้าหมายปีต่อ ๆ ไป

โดยการประเมินของระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management System) จะครอบคลุมพนักงานทุกระดับในกลุ่มบริษัทโอสถสภา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และ ความถี่ในการประเมิน 2 ครั้งต่อปี

ช่องทางเพิ่มเติมในการให้ Feedback ในระบบการประเมินผลงานพนักงานแบบเรียลไทม์

บริษัทฯ ให้ผลสะท้อนกลับ (Feedback) จากหัวหน้างานแก่พนักงาน บริษัทฯได้จัดทำการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างพนักงานและหัวหน้างาน ที่สามารถทำได้ทันที และตลอดเวลา (Agile Conversations) โดยพนักงานและหัวหน้างาน สามารถปรึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่ทำได้ดี สิ่งที่ควรปรับปรุง รวมถึงเรื่องใหม่ ๆ ที่ควรเริ่มดำเนินการและเรื่องที่ควรหยุดดำเนินการ ที่เกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานหรือการวางแผนการเติบโตในสายอาชีพ เพื่อขับเคลื่อนผลสำเร็จของทีมขององค์กร และการเติบโตในสายอาชีพของพนักงาน

(2) การประเมินผลรอบทิศแบบ 360 องศา

บริษัทฯ มีการประเมินผลรอบทิศแบบ 360 องศา โดยใช้ในการประเมินด้านความสามารถในการทำงาน (Performance Feedback) ตามตำแหน่งและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายของพนักงาน เพื่อนำมาประเมินผลการทำงานมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่องค์กรวางไว้ ตลอดจนประเมินศักยภาพของพนักงานไปพร้อมกันด้วย โดยจะสอบถามความคิดเห็นจากบุคคลรอบข้างที่เกี่ยวข้องกับการทำงานทั้งหมดแบบครบองค์รวม 360 องศา ตั้งแต่ ผู้บังคับบัญชาที่อยู่สูงขึ้นไป, ผู้ใต้บังคับบัญชาที่อยู่ต่ำกว่า, เพื่อนร่วมงาน, เพื่อนต่างแผนก, พนักงานในระดับที่อยู่ล่างกว่าแต่ไม่อยู่ในสายบังคับบัญชาโดยตรง

หลักเกณฑ์ในการประเมิน:

การประเมินแบบ 360 องศา จะยึดตาม OSP Leadership Profile ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่

  • Driving Result with Passion
  • Thinking End-to-End
  • Challenging to Take Risk
  • Taking Others with You
  • Learning Agility

ซึ่งผู้ประเมินจะประกอบด้วย ตัวพนักงาน ผู้บังคับบัญชาที่อยู่สูงขึ้นไป, ผู้ใต้บังคับบัญชาที่อยู่ต่ำกว่า, เพื่อนร่วมงาน, เพื่อนต่างแผนก, พนักงานในระดับที่อยู่ล่างกว่าแต่ไม่อยู่ในสายบังคับบัญชาโดยตรง

โดยการประเมินผลรอบทิศแบบ 360 องศา จะครอบคลุมพนักงานทุกระดับในกลุ่มบริษัท โอสถสภา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และ ความถี่ในการประเมิน 2 ครั้งต่อปี

(3) การประเมินผลแบบทีม

เพื่อส่งเสริมเป้าหมายและความสำเร็จของทีม บริษัทฯ มีการจัดทำการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบทีม (Team-based Performance Recognition) โดยกำหนดเป้าหมายของทีม และถ่ายทอดเป้าหมายไปยังพนักงานในทีมเป็นรายบุคคล ในการร่วมกำหนดเป้าหมายและความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลเพื่อตอบสนองเป้าหมายของทีมอย่างชัดเจน การประเมินจะมุ่งเน้นในการทำงานร่วมกันเป็นทีมตามหลักการประเมิน ดังนี้

หลักเกณฑ์ในการประเมิน:

ผลการปฏิบัติงานของทีม ซึ่งพิจารณาจาก

  • ยอดขายรวมของทีม
  • อัตราการเติบโตของยอดขายของทีม
  • ประสิทธิภาพและพฤติกรรมในการทำงานของทีม

โดยการประเมินผลแบบทีมจะครอบคลุมพนักงานขาย และความถี่ในการประเมินรายไตรมาสและรายปี

ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีแก่พนักงาน

บุคลากรกับการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล

โอสถสภานำแพลตฟอร์มดิจิทัลบนคลาวด์มาใช้ในกระบวนการบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคลแบบครบวงจร หรือ O-In-1 พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงบริการนี้ได้จากทุกที่ ทุกเวลา ผ่านสมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์ส่วนตัว โดยแพลตฟอร์มช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานในการจัดการงานส่วนบุคคลและทำงานร่วมกับทีม ผ่านเครื่องมือดิจิทัล นอกจากนี้ บนแพลตฟอร์มยังมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงานและสร้างวัฒนธรรมการทำงานในเชิงบวก รวมถึงการมอบรางวัลและการยกย่องความสำเร็จของพนักงาน

โครงการ Fast Forward 10X

โครงการปรับเปลี่ยนองค์กรในหลายมิติ รวมถึงการจัดการด้านกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว คล่องตัว และการพัฒนาการบริหารบุคลากรให้มีทักษะความรู้หลายหลาย การปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มีความยืดหยุ่น ไม่หยุดเรียนรู้ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน และรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืน

ความคล่องตัวในสถานที่ทำงาน

ด้วยข้อจำกัดในการเข้าปฏิบัติงานที่สำนักงาน โอสถสภาได้จัดให้มีแพลตฟอร์มพื้นฐานที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานระยะไกลอย่างมีประสิทธิภาพ อันได้แก่ โปรแกรม MS Teams บริการ e-Form และการส่งคำขอใช้บริการต่าง ๆ หรือ Office Smart Service Request นอกจากนี้ สำหรับพนักงานที่จำเป็นต้องเข้ามาทำงานที่สำนักงาน โอสถสภาได้จัดให้มีโต๊ะทำงานส่วนกลาง หรือ Hot Desk เพื่อช่วยลดความเสี่ยงด้านสุขภาพและความปลอดภัย ส่งเสริมให้พนักงานมีความคล่องตัวในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ยืดหยุ่น

โอสถสภายังเปิดโอกาสให้มีการจ้างงานในหลากหลายรูปแบบเพื่อความคล่องตัวและยืดหยุ่น รวมถึงรองรับความต้องการที่แตกต่างของแต่ละบุคคลและลักษณะงาน

การปรับเวลาปฏิบัติงานอย่างยืดหยุ่น

โอสถสภากำหนดให้มีการยืดหยุ่นเวลาการปฏิบัติงานสำหรับพนักงานที่ปฏิบัติงานในสำนักงานตั้งแต่ปี 2561 เพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการทำงาน สอดคล้องกับความจำเป็นแต่ละบุคคล สภาพการจราจร และค่านิยมขององค์กรด้านคุณธรรมและความรับผิดชอบ (Integrity) โดยยังคงรักษามาตรฐานการทำงานและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ พนักงานสามารถบริหารจัดการเวลาปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับตนเองอย่างไร้ความกังวล ส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ในขณะเดียวกันเพื่อให้พนักงานมีความปลอดภัยจากสถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบัน บริษัทฯ ได้มีการปรับแนวทางให้พนักงานปฏิบัติงานจากบ้าน (Work From Home) ตามความเหมาะสมตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา โอสถสภาได้จัดอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานและแพลตฟอร์มพื้นฐานที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานระยะไกลอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค เก้าอี้ทำงาน โทรศัพท์มือถือ และช่องทางการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้ตามปกติ สามารถประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้อีกด้วย

การดูแลบุตรหลานของพนักงาน

โอสถสภาช่วยแบ่งเบาภาระของพนักงานด้านการศึกษาของบุตร โดยมอบเงินช่วยเหลือการศึกษาให้แก่บุตรของพนักงาน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงระดับปริญญาตรี ตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา

ห้องให้นมบุตร

สุขอนามัยของคุณแม่และทารกเป็นสิ่งสำคัญ โอสถสภาจึงจัดห้องมิดชิด สะอาด ปลอดภัย ให้กับพนักงานหญิงเพื่อทำการเก็บน้ำนมโดยเฉพาะ

การทำงานแบบพาร์ทไทม์

เพื่อเป็นการตอบสนองกับรูปแบบการจ้างงานที่หลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจ และความต้องการส่วนบุคคล โอสถสภาจึงเปิดให้มีการจ้างงานแบบ Part -time ซึ่งพนักงาน Part-time ถือเป็นการจ้างงานประเภทหนึ่งที่มีรูปแบบการทำงานไม่เต็มเวลาหรือการทำงานแบบยืดหยุ่น เป็นการตกลงระหว่างบริษัทฯ กับพนักงานเป็นรายบุคคล โดยมีสัญญาจ้างระบุเงื่อนไขที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น วันและเวลาทำงานต่อสัปดาห์หรือต่อเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ เป็นต้น