ผลการดำเนินงาน

เป้าหมายปี 2568
*คู่ค้าผู้จัดหาวัตถุดิบสมุนไพร เศษแก้ว และชิ้นส่วนอะไหล่
สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ คู่ค้าในท้องถิ่น / รายย่อย *
450
ราย
เป้าหมายปี 2568
พัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ผู้จัดหาวัตถุดิบสมุนไพรในท้องถิ่น
500
ราย
เป้าหมายปี 2568
100%
ของคู่ค้าที่สำคัญ ได้รับการประเมินด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (ESG)

แนวทางการบริหารจัดการ

บริษัทฯ ได้สนับสนุนคู่ค้าให้ปฏิบัติตามคู่มือจริยธรรมและความยั่งยืน (Supplier’ Code of Conduct and ESG principle) ครอบคลุมคู่ค้าลำดับที่ 1 (Tier-1 supplier) บริษัทฯ มุ่งบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างมี ประสิทธิภาพและมีจริยธรรม โดยบูรณาการประเด็นด้านความยั่งยืนเข้าไปในการสรรหาและคัดเลือกคู่ค้าราย ใหม่ทุกขั้นตอน ตามมาตรฐาน ISO 20400 Sustainable Procurement ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ๆ (Supplier screening) เราจะไม่ดำเนินธุรกิจกับคู่ค้าหากคู่ค้าไม่สามารถบรรลุถึง ESG ขั้นพื้นฐานในระยะเวลา ที่กำหนด โดยมีแผนดำเนินงานการประเมินความเสี่ยงทางด้านความยั่งยืนกับคู่ค้าลำดับที่ 1 จัดกลุ่มคู่ค้าที่ สำคัญ (Critical tier 1 supplier) และกลุ่มคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูง มีแผนดำเนินการประเมินคู่ค้าโดยผู้เชี่ยวชาญ จากภายนอก (3rd party audits) การติดตามแผนดำเนินงานจากคู่ค้า (implementation of corrective/improvement actions) ตลอดจนแผนงานการอบรมและพัฒนาศักยภาพพนักงานของเราด้าน Supplier ESG Program อย่างต่อเนื่อง พร้อมกับนำส่ง แบบฟอร์มการประเมินตนเองตามมาตรฐาน SASB® ให้แก่คู่ค้า ซึ่งมีการลงพื้นที่ตรวจสอบจริงโดยบริษัทฯ (2nd party audits)

การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับคู่ค้าของโอสถสภา

โอสถสภา ดำเนินงานร่วมกับคู่ค้าที่หลากหลายทั้งบริษัทข้ามชาติไปจนถึงวิสาหกิจชุมชนหรือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการการจัดหาวัตถุดิบและวัสดุสำหรับการผลิตบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการผลิตสินค้าในรูปแบบ OEM ที่มีคุณภาพสูงและราคาเหมาะสม ตลอดจนร่วมสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตลอดจนสนับสนุนให้คู่ค้าของเรามีการดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

ช่องทางในการบริหารความสัมพันธ์กับคู่ค้า

Osotspa Vendor Relationship Management (OSRM) Program เป็นโปรแกรมที่เสริมสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับผู้ค้าเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ เพื่อพัฒนา คุณภาพสินค้า บริการ และนวัตกรรมร่วมกัน
การฝึกอบรม สร้างความตระหนักและความเข้าใจทางด้าน ESG กฎหมายข้อกำหนดและ คู่มือจริยธรรมคู่ค้า (Supplier Code of Conduct: SCoC) ครอบคลุมทั้งคู่ค้าใหม่ และคู่ค้าปัจจุบัน
การตรวจสอบความสอดคล้องในประเด็นทางด้านคุณภาพและด้าน ESG ณ พื้นที่ดำเนินการคู่ค้ากลุ่มกลยุทธ์
การเข้าเยี่ยมชมกิจการและกิจกรรมการส่งเสริมศักยภาพคู่ค้าเกษตรกร

การแบ่งหมวดหมู่คู่ค้า

เพื่อการขับเคลื่อนกลยุทธ์ทางด้านความยั่งยืนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโอสถสภาได้ปรับประยุกต์แนวทางสากลเข้ากับการบริหารคู่ค้าบริษัทในการกำหนดหมวดหมู่คู่ค้า

คู่ค้าที่สำคัญ

หมายถึง คู่ค้าที่ยอดซื้อขายสูงรวมมากกว่า 67 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการซื้อขายรวม ของกลุ่มคู่ค้าที่ได้ผ่านกระบวนการคัดเลือกและถูกบรรจุอยู่ในรายชื่อคู่ค้าขึ้นทะเบียน (Approved Vendor List) คู่ค้ากลุ่มกลยุทธ์ที่มีการวางแผนการจัดซื้อจัดจ้าง ร่วมกันหรือมีการตกลงในริเริ่มพัฒนาโครงการร่วมกัน และกลุ่มที่มีน้อยรายหรือ หาทดแทนได้ยาก และมุ่งหวังบริหารจัดการประเด็นทางด้านความยั่งยืนไปยัง คู่ค้าลำดับถัดไปของกลุ่มนี้อีกด้วย

สัดส่วนปริมาณผู้จำหน่าย
5,400 ล้านบาท
สัดส่วนมูลค่าการจัดซื้อของ Critical Tier 1 Supplier ต่อมูลค่าการจัดซื้อทั้งหมดของคู่ค้าที่ผ่านการรับรองทั้งหมดในบัญชีรายชื่อ
44%
การระบุคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูง
3 คู่ค้ารายสำคัญ ลำดับที่ 1
ไม่มีคู่ค้ารายใดที่ได้รับการประเมินว่า มีผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญ หรือมีโอกาสที่จะเกิดขึ้น
สัดส่วนจำนวนคู่ค้า
ประเภทของคู่ค้า จำนวนคู่ค้า (ราย)
คู่ค้าลำดับที่ 1 (Tier-1 Suppliers) 1,761
คู่ค้าลำดับถัดไป (Non-Tier 1 Suppliers) 213
คู่ค้ารายสำคัญลำดับที่ 1 (Critical Tier 1 Suppliers) 33
คู่ค้ารายสำคัญลำดับถัดไป (Critical Non-Tier 1 Suppliers) 213
คู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 (Significant Tier-1 Suppliers) 33
คู่ค้าที่สำคัญลำดับถัดไป (Significant Non-Tier 1 Suppliers) 213
คู่ค้าที่สำคัญทั้งหมด (Significant Tier-1 and Non-Tier 1 Suppliers) 246
% ของยอดใช้จ่ายรวมของ คู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 51

การสรรหาและคัดเลือกคู่ค้า (Supplier Screening)

โอสถสภามุ่งบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพและมีจริยธรรม โดยบูรณาการประเด็นด้านความยั่งยืนเข้าไปในการสรรหาและคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่ทุกขั้นตอน พร้อมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การให้คะแนนการประเมินศักยภาพและคุณสมบัติด้าน ESG ในการคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่ตามมาตรฐาน ISO 20400 Sustainable Procurement ตามปณิธานที่ว่าบริษัทฯ จะไม่ดำเนินธุรกิจกับคู่ค้า หากคู่ค้าไม่สามารถบรรลุข้อกำหนด ESG ขั้นพื้นฐานในระยะเวลาที่กำหนด ดังนั้น คู่ค้าที่มีผลการดำเนินงาน ESG เป็นที่ประจักษ์ จะได้รับการพิจารณาเป็นลำดับแรก โดยมีการกำหนดน้ำหนักขั้นต่ำสำหรับเกณฑ์การประเมิน ESG ในกระบวนการคัดเลือกและการมอบสัญญา

สำหรับการเข้าร่วมและคงอยู่ในทะเบียนรายชื่อคู่ค้าของโอสถสภา บริษัทฯ จะพิจารณาศักยภาพของคู่ค้าจากคุณสมบัติและความสามารถด้านการดำเนินธุรกิจของคู่ค้า ตลอดจนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)

หลักเกณฑ์การประเมินคู่ค้า

รวมถึงการพิจารณาปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ได้แก่

  1. ความเสี่ยงที่เกิดจากความไม่แน่นอนของภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง หรือปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่คู่ธุรกิจตั้งอยู่ (Country-specific Risk)
  2. ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มธุรกิจ (Sector-specific Risk)
  3. ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity-specific Risk) ที่จะต้องผ่านเกณฑ์ ทั้งนี้คู่ค้าเดิมที่อยู่ในทะเบียนรายชื่อของบริษัทฯ จะได้รับการประเมินในลักษณะเช่นเดียวกันเป็นประจำทุกปี
ในปี 2566
ไม่มีความเสี่ยงด้าน ESG ที่เกิดจากคู่ค้า

การจัดหมวดหมู่คู่ค้า

เพื่อการขับเคลื่อนกลยุทธ์ทางด้านความยั่งยืนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โอสถสภาได้ปรับประยุกต์แนวทางสากลตามมาตรฐาน ISO 20400 Sustainable Procurement เข้ากับการบริหารจัดการคู่ค้า และได้มีการกำหนดบริบทของหมวดหมู่คู่ค้า ดังนี้

  • คู่ค้าที่สําคัญ (Significant Suppliers) หมายถึง คู่ค้าที่ระบุว่าอาจมีแนวโน้มความเสี่ยงต่อผลกระทบทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (ESG) ของบริษัทฯ และ/หรือ คู่ค้าที่มีความเกี่ยวข้องทางธุรกิจที่สำคัญกับบริษัทฯ (Critical Tier 1 Suppliers)
  • คู่ค้ารายสำคัญลำดับที่ 1 (Critical Tier 1 Suppliers) หมายถึง คู่ค้าในกลุ่ม Direct Material ที่เข้าข่ายตามหลักเกณฑ์ดังนี้ 1. มีมูลค่าการซื้อขายสูง เป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 67 ของมูลค่าการซื้อขายรวมของกลุ่มคู่ค้าที่ได้ผ่านกระบวนการคัดเลือกและอยู่ในรายชื่อคู่ค้าขึ้นทะเบียน (Approved Vendor List) 2. คู่ค้ากลุ่มกลยุทธ์ที่มีการวางแผนการจัดซื้อจัดจ้างร่วมกันหรือมีการตกลงในริเริ่มพัฒนาโครงการร่วมกัน 3. กลุ่มที่มีน้อยรายหรือหาทดแทนได้ยาก
  • คู่ค้ารายสำคัญลำดับถัดไป (Critical Non-Tier 1 Suppliers) หมายถึง เกษตรกร และผู้ผลิตวัตถุดิบที่ส่งให้กับคู่ค้าลำดับที่ 1 (Tier-1 Suppliers)

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

โอสถสภาร่วมมือกับพันธมิตรในการขยายธุรกิจและค้นหาโอกาสในการสร้างการเติบโตอย่างมีความ รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานร่วมกันกับพันธมิตรของเราในการบริหารจัดการประเด็น ทางด้านความยั่งยืนและพัฒนาศักยภาพในการร่วมสร้างผลกระทบเชิงบวก ทำให้เราสามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพไปยังผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปริมาณที่ครบถ้วนด้วยราคาที่เหมาะสม

ความมุ่งมั่นและการใช้วัตถุดิบทางเกษตรอย่างยั่งยืน

วัตถุดิบทางการเกษตรมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ

โอสถสภามีความตั้งใจในการเลือกใช้วัตถดุิบทางการเกษตรอย่างยั่งยืนครอบคลุมไปจนถึงการสรรหาจากแหล่งผลิตที่มีการจัดการอย่างยั่งยืน (Sustainable Sourcing) เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และห่วงโซ่อุปทาน ตลอดจนเป็นพื้นฐานของการรับรู้ซึ่งส่งผลความพึงพอใจของผู้บริโภค บริษัทฯ จึงมุ่งมั่นที่จะจัดหาวัตถุดิบทางการเกษตรซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในกระบวนการผลิตจากผู้จัดจำหน่ายที่ได้มาตรฐานและมีความรับผิดชอบ โดยในปี 2566 บริษัทฯ ได้ส่งหนังสือเพื่อแสดงเจตนารมณ์ และประกาศความมุ่งมั่นในการใช้วัตถุดิบทางการเกษตรและการเกษตรอย่างยั่งยืนไปยังคู่ค้าผู้จัดหาวัตถุดิบทางการเกษตรทั้งหมดของโอสถสภา (Tier-1 and non-Tier 1 Suppliers)

การจัดซื้อวัตถุดิบและพืชผลทางการเกษตร

วัตถุดิบทางเกษตรร้อยละ
6% จากยอดการสั่งซื้อทั้งหมดของวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์คือน้ำตาล

โดยทางบริษัทแสดงเจตนารมณ์ที่จะพิจารณาการสั่งซื้อจากคู่ค้าที่ปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตที่ยั่งยืน (BonSucro, VIVE, SMETA) พร้อมให้การร่วมมือและส่งเสริมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

โดยครอบคลุมถึง โครงการลดการใช้น้ำ (Programs to reduce water consumption), โครงการลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม (Programs to reduce environmental pollution), โครงการปกป้องการเสื่อมสภาพของดิน (Programs to protect soil health), โครงการป้องกันการทำลายระบบนิเวศ (Programs to prevent the destruction of ecosystems), โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Programs to reduce GHG emissions)

โครงการพัฒนาเกษตรผู้ปลูกสมุนไพร

ด้วยวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นของโอสถสภาในการเป็น “พลังเพื่อเสริมสร้างชีวิต” โอสถสภาดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านความยั่งยืนยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคม

และยังได้กำหนดนโยบายการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับคู่ค้ารายย่อย ซึ่งรวมถึงผู้จัดหาวัตถุดิบสมุนไพร ตลอดจนการใช้ส่วนผสมสมุนไพรที่มาจากการจัดหาความยั่งยืน

จากเป้าหมายดังกล่าว ทางโอสถสภาจึงได้ทำงานร่วมกับ สวทช. มหาวิทยาลัย และหน่วยงานด้านการเกษตร ตลอดจนเกษตรกร ในการให้ความรู้และส่งเสริม การลดการใช้น้ำ การลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม, การปกป้องการเสื่อมสภาพของดิน การป้องกันการทำลายระบบนิเวศ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับการผลิต การแปรรูป การพัฒนาต่อยอดสมุนไพร วัตถุดิบทางการเกษตรและทรัพยากรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ โดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้เป็นแหล่งการผลิตวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพมาตรฐาน และมูลค่าสูงอย่างครบวงจร ซึ่งจะช่วยยกระดับรายได้ เพิ่มคุณภาพชีวิตของเกษตรกร และขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ชุมชน สังคม ให้เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน สำหรับโครงการนี้บริษัทฯ ได้มุ่งเน้นในส่วนของสมุนไพรที่โอสถสภาเลือกใช้ในการผลิต และสมุนไพรท้องถิ่น ได้แก่ ขิง, ไพล และฟ้าทะลายโจร

ผลลัพธ์/ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. เพื่อช่วยให้กลุ่มเกษตรกรผลิตวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และมูลค่าสูงอย่างครบวงจร
  2. เพื่อช่วยยกระดับรายได้ เพิ่มคุณภาพชีวิตของเกษตรกร และขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ชุมชน สังคม ให้เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืนมาตรฐาน
  3. โอสถสภาได้รับวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และทราบแหล่งที่มา เนื่องจากประสานงานร่วมกับสวทช. และกลุ่มเกษตรกร
  4. เพื่อช่วยให้กลุ่มเกษตรกรมีตลาดใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น

สมุนไพรอย่างยั่งยืน

เพื่อรับมือกับความท้าทายในการพัฒนาความยั่งยืนด้านเกษตรกรรม โอสถสภาได้มีการดำเนินงานโดยร่วมมือกับหลายฝ่าย

เราริเริ่มโครงการจัดหาสมุนไพรยั่งยืน ในปี 2563 ร่วมกับผู้จัดจำหน่าย และกองผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาภายใต้กระทรวงสาธารณสุข โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความมั่นคงในการจัดหาสมุนไพรไทยที่มีคุณภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวนอกจากช่วยลดความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานให้แก่โอสถสภา ยังช่วยส่งเสริมเกษตรกรที่เข้าร่วมในโครงการให้มีโอกาสในการเข้าถึงตลาดที่มากขึ้นทำให้สามารถขยายกำลังการผลิต และช่วยสร้างความยั่งยืนของรายได้

สมุนไพร 23 ชนิด
ที่สามารถปลูกในสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยมาจากเกษตรกรในท้องถิ่น
เกษตรกร 107 ครัวเรือน
เข้าร่วมโครงการฟาร์มสมุนไพรยั่งยืนของโอสถสภา

โอสถสภาได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดซื้ออย่างยั่งยืน (ISO 20400 Sustainable Procurement)

จากความมุ่งมั่นในการขยายผลการดำเนินการด้านความยั่งยืนไปตลอดห่วงโซ่อุปทานของบริษัทฯ เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ในการเป็น “พลังเพื่อเสริมสร้างชีวิต” ให้แก่ผู้บริโภคและสังคม บริษัทฯ จึงมีการประยุกต์ใช้มาตรฐานสากล ISO 20400: 2017 ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน ในการยกระดับมาตรฐานการจัดซื้ออย่างยั่งยืนของโอสถสภา ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ส่งเสริมระบบการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งส่งเสริมการดำเนินการด้านความยั่งยืนของคู่ค้า

โครงการพลาสติกคืนชีพ

บริษัทฯ ได้นำเศษซากพลาสติกมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติกใหม่และนำไปใช้เป็นฟิล์มสำหรับห่อผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มของโอสถสภา เนื่องจากเศษซากพลาสติกเหล่านั้นสามารถนำไปหลอมเป็นเม็ดพลาสติก PCR (Post-Consumer Recycled Plastic Waste Resin หรือ เม็ดพลาสติกที่แปรรูปมาจากขยะพลาสติก โดยการนำมาแปรรูปให้เพื่อสามารถนำกลับมาใช้ได้) มาผสมกับเม็ดพลาสติก Virgin โดยมีสัดส่วนคือ PCR 30 : Virgin 70 ผลิตเป็นฟิล์มใหม่ นำมาแพ็คสินค้าได้ต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนา เพิ่มประสิทธิภาพ การผลิต แปรรูป พัฒนาต่อยอดกระบวนการเพื่อการนำเม็ดพลาสติกจากเศษพลาสติกที่ใช้แล้วจากโรงงานของโอสถสภาและบริษัทในเครือกลับมาใช้ใหม่ในโครงการนี้

บริษัทฯ ร่วมกับบริษัท ยูเนี่ยน เจ. พลัส (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติก นำเศษซากพลาสติกที่ใช้แล้วจากโอสถสภาและบริษัทในเครือไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเม็ดพลาสติก PCR และจัดส่งเม็ดพลาสติกเหล่านี้กลับมาที่โรงงานโอสถสภา เพื่อใช้ในการผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับห่อหรือบรรจุสินค้าของโอสถสภา ตามมาตรฐานโอสถสภาอย่างครบวงจร

วัตถุประสงค์ของความร่วมมือ

  1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนจากเศษซากพลาสติกที่มีการใช้งานแล้วให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจของทั้งสองบริษัท
  2. เพื่อเชื่อมโยงตลาดการขายเศษซากพลาสติกจากโรงงานอุตสาหกรรมกับการผลิตเม็ดพลาสติกสำหรับการทำบรรจุภัณฑ์ใหม่ และเพิ่มช่องทางการตลาดในการรับซื้อเม็ดพลาสติก
  3. เพื่อสนับสนุนนโยบายการทำการจัดซื้ออย่างยั่งยืน (ISO 20400 Sustainable Procurement)

ผลลัพธ์/ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. ลดรายจ่ายในการซื้อจำนวนเม็ดพลาสติกที่เป็น Virgin ได้ร้อยละ 30
  2. เป็นผู้ผลิตรายแรกที่ใช้การผสมเม็ด PCR และ Virgin เพื่อนำมาผลิตเป็นฟิล์มบรรจุภัณฑ์สำหรับห่อหรือบรรจุสินค้า
  3. เป็นผลิตภัณฑ์ยั่งยืนที่สามารถลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จาก
  4. Recycle Resin
  5. Circular Economy: Make-Use-Return
  6. ลดขั้นตอนของกระบวนขายเศษพลาสติกของหน่วยงานจัดซื้อที่ขายเศษซาก โดยลดขั้นตอนในการจัดหาผู้รับซื้อเศษซาก ซึ่งทีมได้ตกลงใน MOU ที่จะส่งเศษพลาสติกให้กับบริษัท ยูเนี่ยน เจ. พลัส (ไทยแลนด์) จำกัด เพียงรายเดียว

ในปี 2566 โอสถสภาได้ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านทรัพยากรน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน ในพื้นที่ดำเนินการบริษัทและคู่ค้าครอบคลุมประเด็น

  • ปริมาณ ความพอเพียง และคุณภาพ
  • กฎหมายท้องถิ่นและโครงสร้างราคา
  • ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปัจจัยทางด้านกายภาพ
  • การยอมรับ ความเข้าใจของชุมชนโดยรอบ

การจัดหาวัสดุเศษแก้วอย่างยั่งยืน

โอสถสภา ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม เฉกเช่นเดียวกับการผลิตเครื่องดื่มที่มีคุณภาพ ในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่บรรจุในขวดแก้วถือเป็นสินค้าหลักของเรา ทั้งนี้ ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ขวดแก้ว เราได้นำเศษแก้วหรือขวดแก้ว ที่ใช้แล้วกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตซึ่งช่วยให้เราสามารถบริหาร ต้นทุนและลดความเสี่ยงด้านการจัดหาวัตถุดิบที่อาจเกิดขึ้นในห่วง โซ่อุปทาน เพื่อลดความเสี่ยงในการจัดหาวัตถุดิบ เราได้มีการพัฒนา การจัดหาวัสดุเศษแก้วอย่างยั่งยืน ตั้งแต่ปี 2563 โดยขยายความร่วม มือไปยังพันธมิตรผู้จัดหาวัสดุเศษแก้วทั้งรายใหญ่และรายย่อย

เรามีความมุ่งมั่นในการเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ศูนย์รีไซเคิลลดปริมาณขยะขวดแก้วที่ใช้แล้วในประเทศ และให้การส่งเสริม ผู้ประกอบอาชีพรวบรวมและเก็บขยะอิสระ (ซาเล้ง) ด้วยระบบ สร้างแรงจูงใจ สำหรับการจัดหาวัสดุเศษแก้วเพื่อส่งมอบให้ แก่โอสถสภานอกจากนี้ บริษัท ได้มีแผนที่จะขยายความร่วม มือไปยังพันธมิตรรายย่อยขนาดกลางและขนาดเล็กในท้องถิ่น เพื่อช่วยให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายตามหลักการเศรษฐกิจ หมุนเวียน และสร้างการเติบโตในห่วงโซ่อุปทานที่ครอบคลุม ทุกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย

แนวการการยกระดับมาตรฐานการจัดซื้ออย่างยั่งยืน (ISO 20400)

โอสถสภามีความมุ่งมั่นในการขยายผลการดำเนินการด้านความ ยั่งยืนไปตลอดห่วงโซ่อุปทานของบริษัท เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ในการเป็น “พลังเพื่อเสริมสร้างชีวิต” ให้แก่ผู้บริโภคและสังคม

โดยดร. วิวรรธน์ กฤษฎาสิมะ Chief Supply Chain and Digitization Officer ได้ให้แนวทางในการประยุกต์ใช้มาตรฐานสากล ISO 20400: 2017 ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน ในการยกระดับมาตรฐาน การจัดซื้ออย่างยั่งยืนของโอสถสภา ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ส่งเสริมระบบการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งส่งเสริมการดำเนิน การด้านความยั่งยืนของคู่ค้า โดยได้ดำเนินการร่วมกับ บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด ในการดำเนินโครงการ “Journey of Sustainable Procurement ISO 20400” การตรวจประเมินและขอการรับรองระบบ มาตรฐานดังกล่าว ตามแผนงานปี 2566