อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ผลการดำเนินงาน
ผู้เสียชีวิตจาก การทำงานเป็น
การเจ็บป่วย การทำงานเป็น
ดูแลพนักงานตามแนวทางปฏิบัติด้านแรงงานด้วยความถูกต้อง และให้ความสำคัญด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
โอสถสภาได้พัฒนากลยุทธ์การบริหารบุคลากรแบบองค์รวมตามแนวทางที่สอดคล้องกับค่านิยมหลักขององค์กรที่ว่า “พลังเพื่อเสริมสร้างชีวิตให้แก่ผู้บริโภคและสังคม ด้วยผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมที่ทันสมัย โดยมีวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นผลสำเร็จในการดำเนินงานที่เป็นเลิศ ยึดหลักธรรมาภิบาลและความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ” เพื่อเป้าหมายขององค์กรในการพัฒนาบุคลากรอันประกอบด้วย การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน การมีส่วนร่วมของพนักงาน รวมถึงการรักษาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถไว้กับองค์กร เพื่อส่งเสริมให้พนักงานให้มีความรู้ความสามารถ มีการทำงานในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และได้รับการเคารพในฐานะปัจเจกบุคคล พนักงานทุกคนของโอสถสภาเป็นส่วนสำคัญในการร่วมส่งเสริมและขับเคลื่อนองค์กรให้เดินหน้าอย่างยั่งยืน
ส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำงานที่ถูกสุขอนามัยและปลอดภัย
โอสถสภาให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขอนามัย (Safety Health Environment: SHE) เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยจากการทำงาน รวมถึงมีการส่งเสริมด้านสวัสดิภาพของพนักงานอยู่เสมอ โดยมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้สอดคล้องมาตรฐานความปลอดภัยและกฎหมายไทย พร้อมทั้งประยุกต์ใช้ข้อกำหนดสากลในการบริหารจัดการของบริษัทฯ ผ่านแคมเปญ “SHE Vision Zero” เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการเป็นองค์กรที่มีความปลอดภัยอย่างยั่งยืน
การดำเนินงานด้านความปลอดภัยและชีวอนามัย
โอสถสภามีความมุ่งมั่นในการสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยและปรับปรุงระบบการจัดการความปลอดภัยให้อยู่ในมาตรฐานระดับสูง
บริษัทฯ มีการติดตามผลและวิธีการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานและสามารถวัดผลได้โดยในปัจจุบันได้มีการประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดด้านความปลอดภัยสากลในการตรวจติดตามผลการดำเนินการด้านความปลอดภัย เช่น อัตราการบาดเจ็บจากการทำงานโดยรวม (TRIR) และอัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน (LTIFR) ที่จะถูกนำมาใช้เพื่อวัดผลการปฏิบัติงานและการพิจารณาความสามารถในการบรรลุเป้าหมายด้านความปลอดภัยในสถานประกอบการ
จำนวนการละเมิดทางสิ่งแวดล้อม (กรณี)
2563 | 2564 | 2565 | 2566 | |
---|---|---|---|---|
จำนวนการละเมิดทางกฎหมาย/ ข้อบังคับ | 0 | 0 | 0 | 0 |
อัตราการการบาดเจ็บจากการทำงานโดยรวม - TRIR (กรณี/ล้านชั่วโมงการทำงาน)
พนักงาน | ผู้รับเหมา | |
---|---|---|
2563 | 1.98 | 0.67 |
2564 | 3.61 | 2.20 |
2565 | 2.48 | 1.39 |
2566 | 2.08 | 0.59 |
อัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน - LTIFR (กรณี/ล้านชั่วโมงการทำงาน)
พนักงาน | ผู้รับเหมา | |
---|---|---|
2563 | 0.54 | 0.67 |
2564 | 0.45 | 0.79 |
2565 | 0.35 | 0.62 |
2566 | 0.49 | 0.00 |
จากการมุ่งมั่นบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ดี บริษัทฯ ได้จัดให้มีกิจกรรมจากการดำเนินโครงการต่าง ๆ เพิ่มขึ้นในปี 2566 ซึ่งบริษัทฯ ยังคงสามารถลดอัตราการบาดเจ็บจากการทำงานโดยรวมและอัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานของทั้งพนักงานและผู้รับเหมาลงได้อย่างต่อเนื่อง
มาตรฐานทางด้านชีวอนามัยและความปลอดภัยและการรับรองที่เกี่ยวข้อง
โรงงานในเครือโอสถสภา | มาตรฐานและการรับรองด้านความปลอดภัย | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
รางวัล Thailand Safety Excellence Award (กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน) | รางวัล Thailand Vision Zero Award (สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน) | กิจกรรมการรณรงค์ลดอุบัติเหตุจากการทำงานให้เป็นศูนย์ Zero Accident Campaign (สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน) | ISO 45001: 2018 | ||||
โรงงานผลิตเครื่องดื่ม | |||||||
โรงงานผลิตและบรรจุผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม หัวหมาก กรุงเทพฯ | |||||||
โรงงานผลิตและบรรจุผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม อยุธยา | ✓ | ✓ | |||||
โรงงานผลิตและบรรจุผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม มีนบุรี กรุงเทพฯ | |||||||
โรงงานผลิตของใช้ส่วนบุคคล | |||||||
โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลประเภท ของเหลว กรีนสวิลล์ ลาดกระบัง กรุงเทพฯ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |||
โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลประเภท แป้ง กรีนสวิลล์ ลาดกระบัง กรุงเทพฯ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |||
โรงงานผลิตแก้ว | |||||||
โรงงานสยามกลาส อินดัสทรี สมุทรปราการ | ✓ | ||||||
โรงงานสยามกลาส อยุธยา สวนอุตสาหกรรมโรจนะ อยุธยา | ✓ | ✓ | ✓ | ||||
โรงงานสยามกลาส อินดัสทรี อยุธยา | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |||
โรงงานทำความสะอาดเศษแก้ว สระบุรี | ✓ | ✓ | |||||
โรงงานอื่นๆ | |||||||
โรงงานผลิตฉลากผลิตภัณฑ์ | |||||||
โรงงานผลิตเครื่องดื่ม โอสถสภา (สยามเบฟเวอเรจ) | ✓ | ||||||
คลังสินค้าลาดกระบัง กรุงเทพฯ | ✓ |
แนวทางการบริหารจัดการ
โอสถสภาควบคุมความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในที่ทำงาน โดยใช้เครื่องมือการรายงานเหตุการณ์การเกือบเกิดอุบัติเหตุที่มีประสิทธิภาพในการติดตามเหตุการณ์ เพื่อใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงาน ยกระดับด้านความปลอดภัย และลดการเกิดอุบัติเหตุ โดยทุกเหตุการณ์จะได้รับการวิเคราะห์อย่างละเอียด เพื่อระบุสาเหตุและวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำ
กรณีเกิดอุบัติเหตุ
บริษัทฯ กำหนดให้ต้องมีการเข้าสอบสวนหาสาเหตุและดำเนินการแก้ไขในทันที ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องได้รับการรับรองโดยผู้จัดการโรงงานของหน่วยงานที่เกิด อุบัติเหตุ และทุกอุบัติเหตุจะต้องรายงานให้กับผู้บริหารระดับสูงได้รับทราบโดยเร็วที่สุด
Lesson Learned Card (LLC): เป็นเครื่องมือสำหรับการแบ่งปันข้อมูล ของการเกิดอุบัติเหตุและแนวทางการปรับปรุงแก้ไข ให้กับหน่วยงานอื่นๆ ในกลุ่ม บริษัทโอสถสภา เครื่องมือนี้ช่วยสร้างการเรียนรู้ให้ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันการ เกิดเหตุซ้ำในอนาคต
ระบบซอฟแวร์เพื่อความปลอดภัย: บริษัทฯส่งเสริมให้พนักงานรายงานเหตุไม่ปลอดภัย ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและลดการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ซอฟต์แวร์ Safety Patrol ที่ใช้เพื่อการรายงานสิ่งที่ไม่ปลอดภัย ระบบซอฟต์แวร์ Near Miss Report ใช้เพื่อการรายงานการเกือบเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งการใช้งานระบบออนไลน์
ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานรวมถึงผู้บริหารที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อตรวจสอบความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง เพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจติดตามและ การปรับปรุงแก้ไขได้ดียิ่งขึ้น
การเตรียมความพร้อมเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน
ทุกหน่วยงานต้องมีการทบทวนและปรับปรุงแผนฉุกเฉินของหน่วยงานอย่าง สม่ำเสมอ เช่น แผนควบคุมเหตุไฟไหม้ แผนควบคุมสารเคมีหกรั่วไหล แผนป้องกันน้ำท่วม แผนป้องกันการระบาดของโรคติดต่อร้ายแรง ฯลฯ ตลอดจนข้อมูลของผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงสร้างขององค์กรในการควบคุมเหตุ ฉุกเฉินของหน่วยงาน พร้อมทั้งดำเนินการฝึกซ้อมให้ครบถ้วนตามแผนงาน ที่วางไว้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและลดความเสี่ยงต่างๆที่อาจเกิดขึ้น หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นภายในหน่วยงาน
การตรวจสอบและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ป้องกันเหตุฉุกเฉินต่างๆ ให้พร้อมใช้งาน ตลอดเวลา เช่น อุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์เก็บกู้สารเคมี อุปกรณ์ป้องกัน น้ำท่วม ฯลฯ
ทุกหน่วยงานต้องมีการทบทวนและปรับปรุงแผนฉุกเฉินของหน่วยงานอย่างสม่ำเสมอ เช่น แผนควบคุมเหตุไฟไหม้ แผนควบคุมสารเคมีหกรั่วไหล แผนป้องกันน้ำท่วม แผนป้องกันการระบาดของโรคติดต่อร้ายแรง เป็นต้น ตลอดจนข้อมูลของผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงสร้างขององค์กรในการควบคุมเหตุฉุกเฉินของหน่วยงาน พร้อมทั้งดำเนินการฝึกซ้อมให้ครบถ้วนตามแผนงานที่วางไว้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นภายในหน่วยงาน
การตรวจสอบและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ป้องกันเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา เช่น อุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์เก็บกู้สารเคมี อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ฯลฯ
การปลูกฝังพฤติกรรมความปลอดภัย (Behavioral Based Safety: BBS)
โอสถสภาเน้นย้ำถึงความสำคัญในเรื่องวัฒนธรรมความปลอดภัยในที่ทำงาน การรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคลและความรับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมงานเป็นสิ่งที่พนักงานทุกคนต้องตระหนักถึง
เพื่อเป็นการยกระดับวัฒนธรรมองค์กรและส่งเสริมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในที่ทำงาน บริษัทฯ ได้นำหลักการปลูกฝังพฤติกรรมด้านความปลอดภัย (Behavioral Based Safety: BBS) มาปรับใช้ในสถานที่ทำงาน โดยมีเป้าหมายในการลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงานด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความปลอดภัยของทั้งพนักงานและผู้รับเหมา
ในปี 2566 บริษัทฯ ได้ดำเนินโครงการ BBS ครบถ้วนทั้ง 7 โรงงานตามแผนงานที่วางไว้ เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยขึ้นภายในกลุ่มบริษัทโอสถสภาทั้งหมด
การฝึกอบรมด้านความปลอดภัย
โอสถสภามีการจัดการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยผ่านช่องทางออนไลน์และแบบตัวต่อตัวแก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ให้แก่บุคคลากรและส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน
การอบรมในรูปแบบใหม่ ‘SHE e-Learning” และ “SHE Software"
ทำให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานของตน โดยมีความเข้าใจในหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างครบถ้วน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการปฏิบัติงานในแต่ละวัน
การดำเนินการปี 2566
จำนวนชั่วโมงการอบรมทั้งหมด :
หลักสูตรบังคับสำหรับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
- ความปลอดภัยฯ สำหรับพนักงานใหม่ก่อนเริ่มงาน 6 ชั่วโมง
หลักสูตรบังคับสำหรับพนักงานทุกคน
- บุคลากรด้านความปลอดภัยฯ
- จป. หัวหน้างาน
- จป. บริหาร
- การใช้งานระบบ SHE Software
- มาตรฐานความปลอดภัยฯ และสิ่งแวดล้อม กลุ่มบริษัทโอสถสภา
- ฝึกอบรมดับเพลิงเบื้องต้น และการอพยพหนีไฟ
- การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- ผู้ควบคุมการใช้งาน เครน-ปั้นจั่น
- การขับขี่ปลอดภัยสำหรับการใช้งานรถยนต์
- การขับขี่ปลอดภัยสำหรับการใช้งานรถยก และรถตัก
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านความปลอดภัย (BBS)
- การจัดการสารเคมีและการควบคุมเหตุฉุกเฉินจากสารเคมีหกรั่วไหล
ซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัย
โอสถสภาได้นำซอฟต์แวร์การจัดการความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (SHE Software) มาใช้สำหรับการเชื่อมต่อข้อมูลการดำเนินงานต่าง ๆ โดยซอฟต์แวร์นี้ช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการทำงานร่วมกันระหว่างฟังก์ชัน SHE และส่วนงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
นอกจากนี้ยังช่วยสร้างความมั่นใจว่าการดำเนินงานภายในองค์กรได้ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับและข้อกำหนด ซึ่งถือเป็นการช่วยประหยัดเวลาและลดกระบวนการการทำงานได้อีกด้วย
บริษัทฯ มีการปรับปรุงข้อมูลเชิงสถิติของระบบซอฟต์แวร์เพื่อง่ายในการตรวจสอบและการนำข้อมูลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านระบบ Incident Management และได้ขยายขอบเขตการใช้งานไปยังหน่วยงานที่อยู่ต่างประเทศ การตรวจประเมินความสอดคล้องของกฎหมาย การปรับปรุงแก้ไข และตรวจติดตาม ผ่านการใช้งานในระบบซอฟต์แวร์ CMS โดยครอบคลุมทุกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ และมีการรณรงค์ให้ผู้ปฏิบัติงานทำการบันทึกการตรวจสอบความปลอดภัย การแก้ไขและปรับปรุงกรณีพบเหตุผิดปกติในระบบของ SHE Patrol เป็นต้น