แผนงานด้านความยั่งยืนของโอสถสภา

ในปี 2566 คณะทำงานด้านความยั่งยืนได้พิจารณาประเด็นความท้าทายที่มีความเกี่ยวข้องกับความยั่งยืนองค์กร พร้อมทั้งได้ทบทวนแผนงานด้านความยั่งยืน

โดยกำหนดให้มีการศึกษาแนวทางการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) ภายใต้ขอบเขตการดำเนินการของบริษัทฯ และห่วงโซ่อุปทาน และกำหนดเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานทางด้านความยั่งยืน ปี 2566 ทั้งนี้เพื่อให้แผนกลยุทธ์ของโอสถสภามีประสิทธิภาพ ทันต่อเหตุการณ์ แสดงถึงความมุ่งมั่น มีแผนการปฏิบัติงานตามเป้าหมายที่สามารถวัดผลได้ แผนงานด้านความยั่งยืนของโอสถสภา จะกำหนดให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล โดยเชื่อมโยงผู้คนในห่วงโซ่คุณค่าผ่านการพัฒนานวัตกรรมและการสร้างทักษะ ส่งเสริมความสามารถในการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน สร้างการบริโภคที่ยั่งยืน ปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม ยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน และปลูกฝังทัศนคติด้านความยั่งยืนในที่ทำงาน

1
ห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน
2
สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้บริโภค
3
บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน
4
การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
5
การจัดการพลังงาน & การบริหารการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
รากฐาน และแนวทางแบบองค์รวม
2562 - 2563
  • กรอบแนวทาง
  • ด้านที่มุ่งเน้น
  • เป้าหมายและแผนปี 2568
  • การสร้างความตระหนักรู้ให้กับพนักงาน
ขับเคลื่อนและเสริมสร้างภายใต้กรอบแนวทาง และแผนงานความยั่งยืนของโอสถสภา
2564 - 2565
  • เริ่มต้นความทะเยอทะยานและเป้าหมาย 5 ปี
  • ได้รับการจัดอันดับใน SET THSI เป็นครั้งแรก
ยกระดับ
2566 - 2568
  • ประกาศความเป็นกลางทางคาร์บอน
  • ผสาน ESG เข้ากับธุรกิจ
  • คะแนน ESG ของตลาดหลักทรัพย์ (AA)
  • S&P (Yearbook & Industry Mover 2024)
เป้าหมายระยะกลาง
2569 - 2573
  • พัฒนาประสิทธิภาพ ESG อย่างต่อเนื่อง
  • ลดการปล่อยคาร์บอนลง 30%
  • รักษามาตรฐานของ SET และ S&P
เป้าหมายระยะยาว
2566 - 2568
  • ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050
  • มุ่งสู่ Net Zero