ผลการดำเนินงาน

การสนับสนุนองค์กรและสมาคมภายนอก
บาท

ร่วมส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงระดับมหภาค 

โอสถสภามีนโยบายเป็นกลางทางการเมือง และมีกระบวนการบริหารและดำเนินงานที่เป็นอิสระโดยมีรายละเอียดและขั้นตอนระบุไว้อย่างชัดเจนในหลักจรรยาบรรณและแนวทางต่อต้านการทุจริต ซึ่งสามารถหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในส่วน การกำกับดูแลกิจการ ของรายงานฉบับนี้ บริษัทฯ ไม่มีการสนับสนุนทางการเงิน การบริจาค หรือการเข้าร่วมพรรคการเมือง รวมถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมใดๆ ที่อาจนำไปสู่ความเข้าใจว่ากลุ่มบริษัทฯเกี่ยวข้องหรือสนับสนุนกิจกรรมของพรรคการเมือง ในปี 2566 บริษัทฯ ไม่มีการบริจาคเพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการเมืองหรือองค์กรทางการเมือง 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

โอสถสภาเชื่อว่าภาคธุรกิจสามารถมีส่วนสนับสนุนอย่างมากต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับอุตสาหกรรม ผ่านการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนด้านกฎระเบียบ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าและบริการของไทยสู่สากล บริษัทฯ จึงถือว่าการสนับสนุนการพัฒนานโยบาย กฎหมาย และระเบียบข้อบังคับโดยเน้นที่ความยั่งยืนเป็นหนึ่งในความรับผิดชอบของบริษัทฯต่อสังคมที่บริษัทฯ ดำเนินการอยู่ บริษัทฯ เข้าร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมหรือสมาคมการค้าต่าง ๆ เพื่อสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนและโปร่งใส ผ่านสนับสนุนกิจกรรมในฐานะสมาชิกองค์กรและสมาคมภายนอกดังที่แสดงด้านล่าง

การสนับสนุนองค์กรและสมาคมภายนอก

การสนับสนุนองค์กรและสมาคมภายนอก (บาท) สมาคมการค้าหรือกลุ่มที่ได้รับการยกเว้นภาษี 2563 2564 2565 2566
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  • สถาบันรหัสสากล
  • กลุ่มอาหาร
  • กลุ่มยา
  • กลุ่มสมุนไพร
  • สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และการรีไซเคิลของประเทศไทยเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (TIPMSE)
39,590
  • 12,000
  • -
  • -
  • -
  • 100,000
39,590
  • 12,000
  • -
  • -
  • -
  • 100,000
32,100
  • 12,000
  • 4,280
  • 1,070
  • 2,140
  • 100,000
32,100
  • 12,000
  • 4,280
  • 1,070
  • 2,140
  • 100,000
องค์กร Efficient Consumer Response (ECR) ประเทศไทย 10,700 10,700 10,700 10,700
สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย (TBA) 74,900 74,900 74,900 74,900
สมาคมผู้ผลิตเครื่องดื่มให้พลังงาน (EDMA) 160,000 160,000 160,000 160,000
สมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย (TCMA) 1,500 1,500 1,500 1,500
สมาคมผู้ผลิตยาสมุนไพร (HPA) 1,500 1,500 1,500 1,500
สมาคม อุตสาหกรรมนม และอาหาร (DFIA) 5,000 5,000 5,000 5,000
หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (ฺTCC) 21,400 21,400 21,400 21,400
สมาคมเภสัชกรรมทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์ (RAPAT) - - 2,000 3,500
UNGC - - - 152,125
The Quality Brands Protection Committee of China Association of Enterprises with Foreign Investment (QBPC) - - - 99,000
สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (TNSC) - - - 21,400
อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สาขา สถาบันอาหาร (NFI) - - - 1,711

ผ่านการมีส่วนร่วมในสมาคมที่กล่าวถึงข้างต้น โอสถสภาทำงานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกสมาคม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และพัฒนากระบวนการการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีส่วนร่วมด้วยการแบ่งปันมุมมองและคำแนะนำผ่านผู้ทรงคุณวุฒิที่บริษัทฯ มอบหมายให้ให้ความช่วยเหลือสมาคมต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันการดำเนินการร่วมกันเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม ประเด็นสำคัญหลายที่บริษัทฯ ติดตามอย่างใกล้ชิดมีรายละเอียด ดังนี้

ประเด็น
องค์กรและสมาคมภายนอก
รายละเอียด
สุขภาพและความเป็นอยู่ ที่ดีของผู้บริโภค
  • สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย (TBA) และสมาคมผู้ผลิตเครื่องดื่มให้พลังงาน (EDMA)

โอสถสภาเข้าร่วมทั้งสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย (TBA) และสมาคมผู้ผลิตเครื่องดื่มให้พลังงาน (EDMA) ในฐานะสมาชิกของสมาคม บริษัทฯ ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ผลิตเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มชูกำลังอื่น ๆ ที่มีส่วนได้เสียในอุตสาหกรรมและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง นอกเหนือจากวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมแล้วบริษัทฯ ยังมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้บริโภค โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือการลดน้ำตาลและโซเดียม เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและส่วนประกอบที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากขึ้น

การจัดการบรรจุภัณฑ์
  • สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และการรีไซเคิลของประเทศไทยเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (TIPMSE) TIPMSE

สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และการรีไซเคิลของประเทศไทยเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (TIPMSE) ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแยกบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วออกจากขยะเพื่อลดปริมาณบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วในขยะทั่วประเทศ บริษัทฯ ได้ร่วมเป็นพันธมิตรเพื่อช่วยส่งเสริมระบบการจัดการที่เหมาะสมสำหรับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วและวัสดุรีไซเคิล ในการเข้าร่วมโครงการรับคืนภายใต้แนวคิด Extended Producer Responsibility (EPR) ทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริมความแม่นยำของฐานข้อมูลสำหรับประเทศ สำหรับการออกมาตรการและข้อกำหนดในการจัดการขยะอย่างยั่งยืนของประเทศ ตามแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

เพื่อให้เข้าใจแนวทางการและมาตรฐานการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก กลไกราคา และแนวทางการพัฒนาโครงการเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการชดเชยบัญชีด้วยการใช้คาร์บอนเครดิตสำหรับประเทศไทย รวมถึงแนวการการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อบรรเทาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ การกำหนดราคาคาร์บอน (Carbon pricing) แนวทางจัดเก็บภาษีคาร์บอนในประเทศ (Carbon taxation) มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (CBAM) เป็นต้น โอสถสภา ได้เข้าร่วมกิจกรรมการมีส่วนร่วม การรับฟังความคิดเห็นกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเข้าร่วมเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN) ในปี 2566