การบริหารจัดการความเสี่ยง

โอสถสภาตระหนักและให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในทุกภาคส่วน การบริหารจัดการความเสี่ยงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสถียรภาพระยะยาวในการดำเนินธุรกิจ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย และระดับความเสี่ยงที่บริษัทรับได้

บริษัทเชื่อว่าการบริหารความเสี่ยงสามารถลดความเสี่ยงจากเหตุวิกฤตหรือเหตุการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและโอกาสทางธุรกิจให้กับบริษัท

การบริหารจัดการความเสี่ยง

โอสถสภามีโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงตามแผนภูมิข้างต้น โดยคณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเพื่อให้คำแนะนำและสอบทานการบริหารความเสี่ยง ระดับองค์กร รวมถึงให้กรอบการบริหารความเสี่ยงเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัทและสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมี Osotspa Leadership Team (OLT) ช่วยขับเคลื่อนกระบวนการ บริหารความเสี่ยงและติดตามความคืบหน้าของการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ คณะทำงานบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในการ ระบุความเสี่ยง ประเมินความเสี่ยง กำหนดแผนบรรเทาความเสี่ยง และนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและคณะผู้บริหารเป็นรายไตรมาส

บริษัทมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงและการควบคุม ภายใน โดยให้ผู้บริหารระดับสูงและระดับกลางเป็นแบบอย่าง โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง ความตระหนักรู้ของพนักงานเพื่อนำแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงมาสู่การปฏิบัติ ได้อย่างยั่งยืน บริษัทได้จัดทำนโยบายการบริหารความเสี่ยง โดยกำหนดแนวทาง การบริหารความเสี่ยงที่สอดคล้องกันทั่วทั้งองค์กร และครอบคลุมความเสี่ยงทุกประเภท เพื่อให้สามารถควบคุมและจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนวทางการบริหาร ความเสี่ยงของเรารวมถึง การระบุความเสี่ยงที่ธุรกิจของเราต้องเผชิญ การประเมิน ความเป็นไปได้และผลกระทบของความเสี่ยงเพื่อขับเคลื่อนและจัดลำดับความสำคัญ ในการบรรเทาความเสี่ยงให้มีประสิทธิผล การดำเนินการจัดการความเสี่ยงที่สำคัญ และการติดตามและการรายงานความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องให้แก่คณะกรรมการบริหาร ความเสี่ยงและคณะกรรมการบริษัท

บริษัทมุ่งมั่นในการสร้างการเติบโตขององค์กรให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ผ่านการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิผล ความมุ่งมั่นนี้เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล ความเสี่ยง ด้านคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย สุขภาพของพนักงาน ผลกระทบ ต่อสังคม และข้อกังวลด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ และมาตรฐานสากล บริษัทดำเนินการต่อต้านการทุจริตและการคอร์รัปชัน รักษาประโยชน์ของ ผู้มีส่วนได้เสียตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี และบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และภัยคุกคามที่เกิดขึ้นใหม่ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ บริษัทเน้นการบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ และการลงทุนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว บริษัทมีเป้าหมายที่จะ บูรณาการการบริหาร ความเสี่ยงเข้ากับวัฒนธรรมของบริษัทอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายที่จะลดความเสี่ยง และบรรเทาความสูญเสีย เพื่อให้สามารถคว้าโอกาสทางธุรกิจ และส่งเสริมมูลค่า ทางธุรกิจที่ยั่งยืน

กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง

บริษัทได้วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงสำคัญที่มีผลกระทบต่อบริษัท ประกอบด้วย ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ ความเสี่ยงด้านการเงิน ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติ ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง และความเสี่ยงเกิดใหม่ ทั้งนี้ ปัจจัยความเสี่ยงหลักและแนวทางป้องกันและบริหารจัดการความเสี่ยงของบริษัท สรุปได้ดังต่อไปนี้

แนวโน้มและความนิยมของผู้บริโภค จากการเปลี่ยนแปลงของตลาด และการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมสูงวัย

ความล้มเหลวในการพัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์ของ บริษัทที่สร้างการเติบโต ความสามารถในการ แข่งขัน หรือเพื่อกำหนดรูปแบบ / มีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้บริโภค ลูกค้า หรือคู่แข่งที่สำคัญ

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
  • ผู้บริโภคเปลี่ยนจากตราสินค้าของบริษัทไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่น
  • รูปแบบธุรกิจที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่า เมื่อเทียบกับคู่แข่งรายสำคัญ
  • ความต้องการในผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทเปลี่ยนไปเนื่องจากผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมสูงวัย
  • รายได้และส่วนแบ่งการตลาดลดลง
การบริหารจัดการความเสี่ยง
  • จัดทำแผนกลยุทธ์ระยะยาวซึ่งครอบคลุมในหลายเรื่อง ได้แก่ การตลาด ห่วงโซ่อุปทานและการกระจายสินค้า กระบวนการผลิต บุคลากร เป็นต้น โดยพิจารณาความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยมีการทบทวนความคืบหน้าทุกครึ่งปีและปรับแผนให้เข้ากับสถานการณ์
  • พัฒนากลยุทธ์ด้านนวัตกรรมและกลยุทธ์การนำเสนอผลิตภัณฑ์ด้วยความหลากหลายของตราสินค้าให้สอดคล้อง กับแผนกลยุทธ์ระยะยาว เพื่อสนองความต้องการที่หลากหลายในแต่ละกลุ่มผู้บริโภค รวมถึงขยายธุรกิจ ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรในการต่อยอดนวัตกรรม
  • ศึกษาแนวโน้มและวิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภค ตลอดจนการแข่งขันภาพรวม ของตลาด และการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้
  • กำหนดกระบวนการจัดการนวัตกรรม โดยการทำงานร่วมกับทีมด้านเทคนิค การวิจัยและพัฒนา เพื่อส่งเสริม ด้านนวัตกรรมและประยุกต์ใช้ในโครงการต่าง ๆ ในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพตามแผน
  • จัดกิจกรรมทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคและตราสินค้า ทั้งในรูปแบบ กิจกรรมนอกสถานที่และรูปแบบออนไลน์
การลงทุนใหม่และการลงทุนในต่างประเทศ

ความล้มเหลวในการขยายธุรกิจในระดับสากล และความหลากหลายตามเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ และความผันผวนของเงินตราต่างประเทศ

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
  • ส่งผลกระทบเชิงลบต่อฐานะการเงิน และผลการดำเนินงาน
การบริหารจัดการความเสี่ยง
  • กำหนดแนวทางในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ การศึกษาวิจัยข้อมูลตลาด และผลตอบแทนการลงทุนทางเลือกต่าง ๆ โดยระบุความเสี่ยงหลักและพัฒนาแผนการบรรเทาผลกระทบ วางแผนทรัพยากร และเสริมสร้างศักยภาพของ พนักงาน เพื่อพัฒนาโครงการและสนับสนุนการจัดการการเปลี่ยนแปลง
  • กำกับ ดูแล และติดตามผลการการดำเนินงาน และสถานะการเงินของการลงทุนอย่างใกล้ชิด ในกรณีที่ ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จะมีการติดตามเป็นกรณีพิเศษและนำเสนอต่อผู้บริหารระดับสูง เพื่อพิจารณา และเสนอแนวทางการจัดการ
  • วิเคราะห์ฉากทัศน์เชิงกว้างและวางแผนทางเลือก โดยเข้าใจผลกระทบทางธุรกิจ ปรับลดต้นทุนในการดำเนินงาน ให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจภายใต้สถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอน
  • ยกระดับการกำกับดูแลกิจการของกลุ่มบริษัทในด้านต่าง ๆ อาทิ วัตถุประสงค์ทางธุรกิจ กลยุทธ์ และผลการดำเนินงานทางการเงิน
ความเสี่ยงของการดำเนินธุรกิจในเมียนมาร์ เพิ่มสูงขึ้น อันเนื่องมาจากความไม่มี เสถียรภาพทางการเมือง การอ่อนค่าของ เงินจัต และการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ
  • ความท้าทายที่เพิ่มขึ้นในการดำเนินธุรกิจในเมียนมาร์ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจ ผลิตขวดแก้ว อาจส่งผลเสียต่อผลการดำเนินงานทางการเงิน และโอกาสทางการค้า
  • บริษัทมีการดำเนินการและประเมินผล เพื่อลดความเสี่ยงที่ประเมินไว้
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
  • การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจจำเป็นต้องได้รับการปรับเปลี่ยน เพื่อให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านกฎระเบียบ ในช่วงที่มีความไม่แน่นอนทางการเมือง
  • การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน อันเนื่องจากความความไม่สงบและ ความไม่มั่นคงทางการเมืองทำให้ ไม่สามารถจัดซื้อวัตถุดิบ อะไหล่ และ จัดส่งสินค้าได้อย่างทันท่วงที ส่งผลให้ เกิดความขาดแคลน ความล่าช้า รวมถึงการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการดำเนินงาน
  • ค่าเงินจัตที่อ่อนค่าลง และการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ที่กำหนดโดยรัฐบาลส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสดและความสามารถในการทำ กำไร รวมถึงความสามารถในการชำระคืนเงินกู้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
  • กำลังซื้อที่ลดลงในเมียนมาร์ อาจส่งผลกระทบต่อยอดขายของบริษัท
การบริหารจัดการความเสี่ยง
  • ติดตามสถานการณ์ในเมียนมาร์อย่างใกล้ชิด เพื่อจัดทำแผนฉุกเฉินที่เหมาะสม เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที
  • ศึกษาการขยายตลาดของสินค้า และฐานลูกค้าที่มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง เพื่อรับมือกับการชะลอตัวของตลาดในเมียนมาร์
  • ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การดำเนินงานตามความเหมาะสม รวมถึงการปรับระบบการปฏิบัติงานให้เข้ากับบริบทท้องถิ่น เพื่อจัดการกับความไม่มั่นคงทางการเมืองและความไม่แน่นอนด้านต่าง ๆ ของเมียนมาร์ เช่น การเพิ่มขึ้นของการจัดหาวัตถุดิบจากพื้นที่ท้องถิ่น
การดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล มุ่งมั่นสู่ความยั่งยืน และความรับผิดชอบต่อสังคม

การเพิ่มขึ้นของข้อกำหนดด้านกฎระเบียบ และแรงกดดันทางสังคมด้านความยั่งยืน

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
  • กระทบต่อความสามารถในการจัดซื้อ จัดจ้าง การผลิต และการตลาดสำหรับ ผลิตภัณฑ์ของบริษัท
  • กระทบต่อการเติบโตในอนาคตทั้งทางตรงและทางอ้อมจากผลกระทบทางด้าน ชื่อเสียง และการลดลงของความเชื่อมั่นจากผู้บริโภคและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ
การบริหารจัดการความเสี่ยง
  • กำหนดกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนขององค์กรซึ่งประกอบด้วย 2 เป้าหมายหลัก คือ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2593 และการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี พ.ศ. 2608 ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลไทย
  • บูรณาการหลักการ Environment Sustainability and Governance เข้ากับหลักการดำเนินธุรกิจ โดยสอดคล้อง กับทิศทางและเป้าหมายการเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน
  • ติดตามดัชนีชี้วัดผลการดำเนินงานในกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานและน้ำในกระบวนการผลิต และลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  • จัดทำการประเมินความยั่งยืนของการใช้น้ำ (Water Sustainability Assessment) ซึ่งเป็นการประเมินความเสี่ยงด้านการใช้น้ำในเชิงลึกเพื่อบรรเทาโอกาสความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
  • สร้างความมีส่วนร่วมทั้งกับหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กรในการบริหารจัดการพลังงาน และการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • วิเคราะห์และบริหารจัดการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศทั้งความเสี่ยงทางกายภาพ (Physical Risk) และความเสี่ยงเปลี่ยนผ่าน (Transition Risk)
  • พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซ โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างระบบออนไลน์ เข้ามาช่วยในระบบการทำงาน
  • ฝึกอบรมพนักงานเพื่อสร้างความตระหนักด้านความยั่งยืนของโอสถสภา โดยเป็นหลักสูตรภาคบังคับผ่านระบบ การเรียนรู้แบบ e-learning
  • มีการติดตามข้อมูลอย่างเป็นระบบ ตลอดจนข่าวสารด้านภัยธรรมชาติและวางแผนแก้ไขเพื่อจัดการปัญหา ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทางความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
  • ทำงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐและสมาคมการค้า เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบข้อบังคับ การบังคับ ใช้กฎหมาย และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
คุณภาพและความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์

การปนเปื้อนในวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป หรือสินค้าลอกเลียนแบบที่ไม่ปลอดภัยเข้าสู่ ตลาด

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
  • อันตรายต่อผู้บริโภค
  • ความเสียหายต่อชื่อเสียงของบริษัท และตราสินค้า
  • ค่าใช้จ่ายในการจัดการเพิ่มเติม
การบริหารจัดการความเสี่ยง
  • ดำเนินการในเรื่องของการควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ และการบริหารจัดการคุณภาพโดยรวม (TQM) ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าตั้งแต่ผู้ขายวัตถุดิบจนถึงผู้บริโภค และการบริหารการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการกำหนด ตัวชี้วัดคุณภาพเชิงโครงสร้างในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องและรับผิดชอบร่วมกันได้อย่างเต็มที่
  • ปรับใช้และพัฒนากลยุทธ์อย่างต่อเนื่องในด้านคุณภาพมาตรฐานการผลิตระดับสูง รวมถึงเน้นด้านความปลอดภัย และความสมบูรณ์ในการผลิต ตลอดจนสร้างแนวคิดด้านคุณภาพและวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยในการผลิตอาหาร
  • ผ่านการรับรองมาตรฐานระดับสากลด้านความปลอดภัยและคุณภาพ รวมถึงมาตรฐานระบบบริหารจัดการ ด้านความปลอดภัยอาหาร FSSC 22000 Version 5.1 ซึ่งเป็นการรับรองความปลอดภัยสำหรับการผลิตอาหาร ตลอดห่วงโซ่อุปทาน และอยู่ในระหว่างดำเนินการจัดทำ ISO45001 เพื่อรักษามาตรฐานระบบการจัดการ ด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • ดำเนินโครงการ Behavior Based Safety (BBS) อย่างสม่ำเสมอ มีหลักการสร้างการมีส่วนร่วม จูงใจ ช่วยเหลือ และเน้นย้ำ ให้ผู้นำด้านความปลอดภัย ส่งเสริมเพื่อให้เกิดพฤติกรรมความปลอดภัยที่ยั่งยืนและสร้างผลลัพธ์ เชิงบวกอย่างต่อเนื่อง
  • กำหนดดัชนีชี้วัดในการติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานสำนักงานบริหารความปลอดภัยและ อาชีวอนามัยแห่งชาติ เพื่อเป็นมาตรการเชิงรุกในการป้องกันการสูญเสียของบุคคลและทรัพย์สินของบริษัท รวมทั้งส่งเสริมการมีมาตรการด้านความปลอดภัยที่ดีในสถานที่ทำงาน ทั้งนี้ดัชนีชี้วัดได้รวมถึงการตระหนักรับรู้ และมีส่วนร่วมในด้านความปลอดภัยของพนักงาน การดูแลสินทรัพย์ที่จับต้องได้ และแผนการบำรุงซ่อมแซมรักษา
  • ดำเนินงานร่วมกับคู่ค้าสำคัญของบริษัทในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และนำแนวทางการบริหารการเปลี่ยนแปลงมาใช้ (Change Management) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการมีคุณภาพที่ถูกต้อง ตั้งแต่ครั้งแรก (Right First Time Quality) และมีระบบการผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing)
  • วิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างครอบคลุมร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด สำหรับโครงการและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อสามารถจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยสามารถรักษาคุณภาพและ ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
  • สายด่วนผู้บริโภคของโอสถสภา ติดตามผลตอบรับผู้บริโภค รับเรื่องร้องเรียน หรือคำแนะนำติชมจากผู้บริโภค โดยมีทีมเฉพาะกิจที่นำโดยหัวหน้าแต่ละโครงการทำการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดการ ตอบสนองและแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที
ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินค้า โภคภัณฑ์

ความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำตาล เศษแก้ว ก๊าซธรรมชาติ ที่เปลี่ยนแปลง ตามอุปสงค์และอุปทานในตลาดโลก มาตรการ ส่งเสริมและควบคุมของภาครัฐ ภาษีอากรและ พิกัดอัตราศุลกากร และสภาวะทางเศรษฐกิจ โดยรวม นอกจากนี้ ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทาง สภาพภูมิอากาศต่อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร อาจส่งผลให้ผลผลิตลดลง ส่งผลกระทบต่อ เสถียรภาพด้านราคาและอุปทาน

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
  • ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน
  • ต้นทุนวัตถุดิบและการบริหารจัดการ สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อกำไรจาก การดำเนินงาน
การบริหารจัดการความเสี่ยง
  • ศึกษาข้อมูลทางการตลาดเพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ธุรกิจด้านต่างๆ (Market Intelligence) และสามารถวิเคราะห์ต้นทุนผ่าน Should-cost-model Platform เพื่อระบุความเสี่ยงและโอกาสสำหรับการจัดการเชิงกลยุทธ์ของวัตถุดิบ
  • กำหนดโครงสร้างราคา โดยการเปรียบเทียบจากผู้จัดหาหลายรายในอุตสาหกรรมเดียวกัน เพื่อให้มั่นใจว่าราคาสินค้า มีความสอดคล้องกับราคาตลาด
  • จัดทำสัญญาซื้อระยะยาวกับคู่ค้าหลัก และค้นหาคู่ค้าสำรอง รวมถึงสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับคู่ค้าที่สำคัญ เช่น น้ำตาล
  • จัดทำสัญญาแบบยืดหยุ่น เพื่อลดความไม่แน่นอนของปริมาณการสั่งซื้อที่จะได้รับ
  • ดำเนินกลยุทธ์การจัดซื้อจากประเทศที่มีต้นทุนต่ำ ส่งเสริมความร่วมมือกับจีนและคู่ค้าอื่น ๆ ที่มีต้นทุนต่ำ
ภัยคุกคามทางดิจิทัล

การขโมย สูญหาย และการยักยอกทรัพย์สิน ทางดิจิทัลที่สำคัญ

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
  • การสูญเสียทางการเงิน การหยุดชะงักใน การดำเนินงาน และความเสียหายด้าน ชื่อเสียง
การบริหารจัดการความเสี่ยง
  • ดำเนินมาตรการที่จำเป็นต่าง ๆ รวมถึง นโยบายความปลอดภัยด้านข้อมูลสารสนเทศ แนวทางการป้องกันข้อมูล (การจำแนกข้อมูล) แนวทางการใช้ทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม การใช้เครื่องมือป้องกัน การรั่วไหลของข้อมูล การจำกัดสิทธิการเข้าถึงระบบและข้อมูลตามหน้าที่งาน การติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส คอมพิวเตอร์ด้วยเครื่องมือตรวจจับและตอบสนองต่อเหตุการณ์ภัยคุกคามแบบเจาะจง (Extended Detection and Response: XDR) มาตรการป้องกันด้วยไฟร์วอลล์หลายชั้น การตรวจสอบความปลอดภัยทางไซเบอร์ ตลอด 24 ชั่วโมง การสำรองข้อมูล แผนการตอบสนองภัยคุกคามทางไซเบอร์ และการจัดทำแผนกู้คืนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ส่งเสริมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและภัยคุกคามทางไซเบอร์ ผ่านช่องทางการสื่อสารภายในอย่างสม่ำเสมอ และจัดอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญภายนอกให้ความรู้ด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์แก่พนักงาน เพื่อสร้างความเข้าใจและใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลได้ถูกต้อง
  • มีการวัดผลความเข้าใจและสร้างความตระหนักของพนักงานเป็นระยะ ๆ ผ่านการจำลองส่ง Phishing e-mail ทั้งก่อนและหลังการการฝึกอบรม และ/หรือ การสื่อสารภายใน
  • สังเกตและตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง รวมถึงปรับการตอบสนองต่อสถานการณ์เสี่ยงด้านความปลอดภัยให้เร็วขึ้น โดยทีมศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยคอยให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน รวมถึงดำเนินการฝึกซ้อมการกู้คืน ข้อมูลหากเกิดเหตุเป็นประจำเพื่อการแก้ไขอย่างทันท่วงทีและรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
การบริหารทรัพยากรบุคคลและ ความสามารถเพื่อการเติบโตในอนาคต

การพึ่งพาบุคลากรหลัก การขาดแคลนบุคลากร ที่มีทักษะ และ/หรือ การมีความสามารถที่จำกัด ขาดความยืดหยุ่น เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จ อย่างต่อเนื่องของธุรกิจ

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
  • ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัทได้
การบริหารจัดการความเสี่ยง
  • สร้างความต่อเนื่องและความยืดหยุ่นขององค์กร (Organizational Continuity and Resilience) โดยมีการระบุอย่างเป็นระบบ พัฒนากลุ่มพนักงานภายในที่มีความพร้อม และมีการวางแผนการสืบทอดตำแหน่ง สำหรับตำแหน่งงานที่สำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าการเปลี่ยนผ่านสู่บทบาทที่สำคัญเป็นไปอย่างราบรื่น ลดความเสี่ยงของ การเกิดช่องว่างของผู้นำ ส่งเสริมการรักษาพนักงานที่มีศักยภาพให้อยู่กับองค์กร และรักษาความสำเร็จเชิงกลยุทธ์ในระยะยาวให้กับบริษัท
  • สรรหากลุ่มพนักงานที่มีความสามารถ (Talents) และสร้างการเติบโตในสายอาชีพผ่านหลักสูตรการพัฒนาบุคลากร และการสับเปลี่ยนหมุนเวียนหน้าที่การทำงาน (Job Rotation)
  • จัดทำ OSP Career Framework, OSP Career Month และส่งเสริมการเติบโตทางอาชีพในแนวนอน อย่างต่อเนื่อง เพื่อปลดล็อกศักยภาพ และสร้างความก้าวหน้าในอาชีพ
  • สร้างแหล่งความรู้แบบองค์รวม และพัฒนาความสามารถของพนักงานในด้านทักษะทางเทคนิค ทักษะส่วนบุคคล ทักษะด้านดิจิทัล และพัฒนาทัศนคติการเติบโต (Growth Mindset) รวมถึงแนวคิดแบบผู้ประกอบการ
  • พัฒนาศักยภาพและความสามารถของพนักงานผ่านการฝึกอบรมแบบผสมผสานในรูปแบบต่างๆ เช่น การอบรมออนไลน์ การอบรมในห้องเรียน การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติงาน การสอนงาน และระบบพี่เลี้ยง บริษัทส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบคล่องตัว (Learning Agility) โดยเน้นการริเริ่มและลงมือทำให้สำเร็จ (Success made by You) และ แนวคิดการทำงานแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในรูปแบบ Knowledge Exchange Process Transformation (KEPT)
  • สร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้สามารถดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถทั้งจากช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ เช่น LinkedIn Facebook LINE และกิจกรรมของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
  • สำรวจประสบการณ์การทำงานของพนักงานเพื่อประเมินความพึงพอใจ เข้าใจความต้องการและปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมนำไปปรับปรุงและสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีขึ้น
  • สร้างวัฒนธรรมการทำงานวิถีใหม่แบบผสมผสาน (Hybrid Work Culture: Faster Better Together) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเปลี่ยนแปลงการทำงานเพื่อพัฒนาบุคลากร เตรียมระบบงานบริหาร ทรัพยากรบุคคลและองค์กรให้พร้อมสำหรับอนาคต
ความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยน

การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศมีผลต่อรายได้จากต่างประเทศ ราคาซื้อสินค้าและวัตถุดิบ รวมถึงการลงทุน ในบริษัทย่อยในต่างประเทศ

หมายเหตุ: สำหรับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ เมียนมาร์ ให้อ้างอิงไปที่ข้อ 3

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
  • ความผันผวนของรายได้ และ/หรือ ต้นทุน
  • กระทบการแปลงค่าในการจัดทำ งบการเงินรวม
การบริหารจัดการความเสี่ยง
  • บริหารรายได้และค่าใช้จ่ายที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศให้อยู่ในสกุลเดียวกัน (Natural Hedge) และใช้การทำสัญญา ซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าโดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าเพิ่มเติม
  • ติดตาม รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพื่อนำมาประเมินและคาดการณ์ผลกระทบต่อรายได้และค่าใช้จ่ายที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศ และสามารถวางแผนจัดการได้ อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
การเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบและภาษี

การเปลี่ยนแปลงทางการเงินจากภายนอก ที่เกี่ยวกับกฎหมายและภาษี เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีนิติบุคคล เป็นต้น หรือการไม่สามารถใช้ประโยชน์ทางภาษีได้

หมายเหตุ: สำหรับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ เมียนมาร์ ให้อ้างอิงไปที่ข้อ 3

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
  • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบ
  • เพิ่มความเสี่ยงการปฏิบัติตามและ ค่าใช้จ่ายทางภาษีและความไม่แน่นอน
การบริหารจัดการความเสี่ยง
  • มอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบในการสังเกตการณ์และติดตามการเปลี่ยนแปลงในกฎและนโยบายในแต่ละประเทศอย่างใกล้ชิด รวมถึงการกำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อรับมือกับความเสี่ยงและโอกาสที่อาจเกิดขึ้น
  • จัดทำแผนกลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยงด้านกฎหมายและภาษีที่อาจเกิดขึ้นร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างทีมวิจัยและพัฒนา และฝ่ายการผลิต เพื่อสามารถบริหารจัดการต้นทุนและค่าใช้จ่ายอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบทางกฎหมายและภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ
การปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมาย

ความล้มเหลวและการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับ

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
  • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทางแพ่ง และ/หรือ ทางอาญาที่นำไปสู่ความเสียหาย โทษค่าปรับที่สูง และชื่อเสียงขององค์กร
การบริหารจัดการความเสี่ยง
  • ติดตามตรวจสอบกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้แน่ใจว่ามีความเข้าใจและรับทราบถึงผลที่ตามมาซึ่งจะต้องมีการจัดทำแผนการดำเนินงาน
  • กำหนดแนวทางการจัดการการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับและกฎหมาย ซึ่งรวมถึงบทบาทและความรับผิดชอบของผู้ดูแลด้านการติดตามกฎหมาย (Law Owner) และผู้ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมาย (Area Owner) กระบวนการประเมินการปฏิบัติตามข้อกำหนด กฎหมาย และการจัดเก็บข้อมูลการปฏิบัติตาม โดยการรวบรวมกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องไว้ในระบบ
  • ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญหรือบริษัทที่ปรึกษาในแต่ละประเทศเพื่อช่วยตีความกฎหมายท้องถิ่นและให้คำแนะนำเกี่ยวกับ การปฏิบัติตามกฎหมายสำหรับการลงทุนต่างประเทศและการทำธุรกรรมต่าง ๆ
  • จัดอบรมพนักงานเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจใน กฎหมายและข้อบังคับ และเพื่อให้มั่นใจได้ว่าพนักงานจะสามารถ ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง
  • บังคับใช้พระราชบัญญัติเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยทีมเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer หรือ DPO) ได้ดำเนินการติดตามและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีกระบวนการในการเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอย่างถูกต้อง รวมถึง มีการจัดอบรมพนักงานเพื่อสร้างความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้อง
ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์
  • อุปสรรคในการจัดหาวัตถุดิบอาจส่งผลให้ เกิดการขาดแคลน ความล่าช้าในการผลิต และต้นทุนการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น
  • ความเชื่อมั่นและการใช้จ่ายของผู้บริโภค ลดลง ส่งผลต่อยอดขายของสินค้าอุปโภค บริโภค
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
  • การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานส่งผลให้ ผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่ายมีลดลง ต้นทุน การผลิตและต้นทุนการดำเนินงานเพิ่มขึ้น
  • บริษัทจำเป็นต้องเพิ่มความสามารถในการ ปรับตัว และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การจัด กลุ่มผลิตภัณฑ์
  • ความต้องการของผู้บริโภคลดลง
การบริหารจัดการความเสี่ยง
  • ติดตามสถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด
  • การบริหารโดยวางแผนเป็นฉากทัศน์ (Scenario planning) และจัดทำแผนรองรับเหตุที่อาจเกิดขึ้น
  • สร้างการทำงานร่วมกันของฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กร เพื่อขยายฐานคู่ค้า เพิ่มทางเลือกทางการตลาด และเพิ่ม ความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน เพื่อลดความเสี่ยงจากการหยุดชะงัก นอกจากนี้ สามารถหาโอกาสในการลดต้นทุน ผ่านการหาแหล่งทางเลือกใหม่สำหรับวัตถุดิบและการขนส่ง การปรับเปลี่ยนสูตรการผลิต และการสำรองสินค้า คงคลังเพื่อป้องกันการขาดแคลนวัตถุดิบ
  • ขับเคลื่อนโครงการ Fast Forward 10X เพื่อเสริมความยืดหยุ่นในการเติบโตและทำให้บริษัทสามารถแข่งขัน ได้ในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน และเศรษฐกิจผันผวน
ผลกระทบทางสภาพภูมิอากาศที่มองไม่เห็น
  • ผลกระทบทางสภาพภูมิอากาศที่มองไม่เห็น: ภัยพิบัติทางธรรมชาติ (ความร้อนจัด, พายุไซโคลน, อันตรายจากไฟ)
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจก่อให้เกิดภัยพิบัติที่ไม่คาดคิด ซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของบริษัทและเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของพนักงาน เช่น ความร้อนจัด, พายุไซโคลน และอันตรายจากไฟ
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
  • ภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน อาจส่งผลกระทบต่อความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจของบริษัท จากการเสียหายของทรัพย์สินและแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นของบริษัท
  • ความเสียหายจากภัยธรรมชาติอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพย์สิน การบาดเจ็บและเสียชีวิตของพนักงาน
  • อากาศที่ร้อนจัดอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงต่อแรงงาน เช่น การอ่อนเพลีย โรคลมแดด และโรคที่เกี่ยวเนื่องกับความร้อนจัดอื่น ๆ
  • อุณหภูมิที่สูงขึ้นอาจเพิ่มระดับของมลพิษทางอากาศและสารพิษที่เป็นอันตรายต่อแรงงาน เช่น มลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM) การสะสมของมลพิษทางอากาศเนื่องจากสภาพอากาศนิ่ง (air stagnation) เป็นต้น
  • อุณหภูมิและความชื้นที่สูงขึ้นอาจลดทอนคุณภาพของผลิตภัณฑ์ลง จากการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบของสารอาหาร สี และเนื้อสัมผัสในระหว่างการผลิต การเก็บรักษา และการขนส่ง
การบริหารจัดการความเสี่ยง
  • ศึกษาและประเมินสถานที่ตั้งของบริษัทเพื่อสร้างแผนการปรับปรุงโครงสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวก และอุปกรณ์ของสินทรัพย์ที่มีอยู่ตามความจำเป็น ตามการประเมินของบริษัท
  • สร้างเขตกันไฟที่เหมาะสมระหว่างชุมชนและพื้นที่ปฏิบัติการ และใช้วัสดุทนไฟสำหรับการก่อสร้างโครงสร้างอาคาร
  • จัดทำและปรับปรุงนโยบายความปลอดภัยและแนวทางการจัดการความร้อน เช่น การจัดหาแหล่งน้ำดื่มที่เพียงพอ การหยุดพัก และการเข้าถึงพื้นที่พักผ่อนที่เย็นกว่า ฯลฯ
  • จัดการฝึกอบรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับพนักงานบริษัทเกี่ยวกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับการป้องกัน