แนวทางการบริหารจัดการ

การสร้างนวัตกรรมอย่างมีระบบสามารถส่งเสริมการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของโอสถสภาและช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมีนัยสำคัญ ผ่านความร่วมมือจากทั้งหน่วยงานภายในและพันธมิตรทางธุรกิจ โดยมีทีมงานด้านนวัตกรรม เป็นศูนย์กลางในการติดตามผลการดำเนินงานของโครงการต่างๆ อย่างเป็นกระบวนการ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

กลไกสำคัญอย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนการเติบโตของบริษัทฯ คือการมุ่งเน้นที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ภายใต้การคิดค้นสูตรและบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆทีมีประสิทธิภาพ รวมถึงการพัฒนาทักษะด้านการวิจัยและพัฒนาในกระบวนการผลิต ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดอย่างดีเยี่ยม ตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อวัตถุดิบไปจนส่งมอบถึงมือผู้บริโภค

O-IPM คือ กระบวนการบริหารจัดการของโอสถสภาเพื่อให้เกิดการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในการส่งมอบ นวัตกรรมออกสู่ตลาด โดยพิจารณาจากองค์ประกอบเหล่านี้

ความเกี่ยวข้องกับผู้บริโภค
การประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยง
การลงทุนวิจัยและพัฒนา
การจัดการปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์

ตั้งแต่ปี 2563 โอสถสภา เริ่มใช้ Stage-Gate Process ในการบริหารจัดการกระบวนการด้านนวัตกรรม โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนความคิดริเริ่ม จนถึงผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด

Stage Gate Process เป็นกระบวนการพัฒนานวัตกรรมของโอสถสภา โดยเริ่มจากความคิดสร้างสรรค์ไปสู่ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ เมื่อความคิดใหม่ๆ ได้บทสรุป

1
ความคิดเหล่านั้นจะถูกนำไปศึกษาถึงความเป็นไปได้ของการออกผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ในเบื้องต้น
2
พัฒนาผลิตภัณฑ์โดยฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
3
ทดสอบในโรงงานผลิตเพื่อเตรียมความพร้อมในทุกส่วน
4
นำผลิตภัณฑ์นั้นออกสู่ตลาด
5
โฆษณาผลิตภัณฑ์นั้น ๆ

ตามแผนงานและหลังจากผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดระยะหนึ่ง ทางบริษัทจะมีขั้นตอนสุดท้ายในการประเมินกระบวนการต่าง ๆ ที่ทำมา รวมถึงความสำเร็จของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ในตลาด สำหรับสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย กระบวนการสามารถปรับให้ง่ายขึ้นเพื่อย่นระยะเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ออกสู่ตลาด

กระบวนการทางธุรกิจ

โดยแต่ละโครงการจะขับเคลื่อนด้วยคณะทำงาน หรือ CORE TEAM ซึ่งประกอบด้วยหัวหน้าคณะทำงานและทีมงานจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น ฝ่ายวิจัยและพัฒนา (R&D) ฝ่ายโรงงาน ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายห่วงโซ่อุปทาน ฝ่ายการตลาด ฝ่ายการขาย และฝ่ายการเงิน เป็นต้น มาทำงานร่วมกันตลอดระยะเวลาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยนำเสนอผลความก้าวหน้าในแต่ละขั้นตอนและข้อมูลสำคัญทางธุรกิจล่าสุดไปยัง

คณะกรรมการจากหน่วยงานต่าง ๆ หรือ GATEKEEPERS ที่ทำหน้าที่ติดตามแผนงานและสถานะของโครงการในมิติต่างๆ เช่น สถานการณ์ตลาด ผลการวิจัย การเงิน เพื่อตัดสินใจเดินหน้าโครงการ ชะลอโครงการ หรือ ยุติโครงการ ตามความเหมาะสม

โอสถสภามุ่งมั่นที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เหนือกว่าความต้องการพื้นฐานของผู้บริโภค เราต้องการเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดีและมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน เราพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องและใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ล้ำสมัย ประกอบกับความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมจากการดำเนินธุรกิจเป็นเวลายาวนานกว่าสองศตวรรษ ทำให้ผลิตภัณฑ์ของเรามีความหลากหลายและแบรนด์ของเราได้เปรียบในการแข่งขัน

เราปรับปรุงโครงสร้างด้านนวัตกรรมเพื่อให้มั่นใจว่าการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนามีความสอดคล้องกับแนวทางการเติบทางธุรกิจ โดยมีศูนย์การดำเนินงานด้านนวัตกรรมหลักได้แก่ ห้องปฏิบัติงานศูนย์วิจัยและพัฒนาโอสถสภา (Osotspa R&D Lab) ที่สำนักงานใหญ่หัวหมาก และศูนย์นวัตกรรมโอสถสภา ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (Osotspa Innovation Center - OIC) เราสามารถทำงานในระดับห้องปฏิบัติการ เพื่อเข้าใจกระบวนการพัฒนาและกระบวนการผลิตสินค้าใหม่โดยไม่จำเป็นต้องแทรกแซงกระบวนการผลิตหลัก ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและลดผลกระทบจากความล่าช้าในสายการผลิตอย่างมีนัยสำคัญ ในแต่ละโครงการแบ่งขั้นตอนต่างๆ ที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของแต่ละโครงการ

ชิ้นงานและผลลัพธ์ของแต่ละ Gate แยกตามหน่วยงาน

โอสถสภาปรับใช้กระบวนการ O-IPM อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและความสามารถในการแข่งขัน ลดความซับซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร โดยในปี 2566 โอสถสภาได้นำกระบวนการ O-IPM ไปใช้กับธุรกิจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย นอกจาก การติดตามประเมินผลหลังจากนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดแล้ว ทีมงานได้มีการถอดบทเรียนจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาเพื่อนำไปพัฒนาให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต

ในปี 2566 เราได้นำเครื่องมือด้าน ดิจิทัลมาใช้จัดเก็บข้อมูลสำคัญทั้งหมด อาทิ ผลการทดลองและการทดสอบ อาร์ตเวิร์ก แผนระยะเวลาโครงการ ผลงานออกแบบผลิตภัณฑ์ และ แบบร่างบรรจุภัณฑ์ โดยเราให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเป็นอย่างมาก มีการป้องกันหลายขั้นตอน เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลสามารถเข้าถึงได้โดยบุคลากรที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นและข้อมูลอันเป็นความลับจะถูกเก็บไว้อย่าง ปลอดภัย

ในปี 2566 โอสถสภาเร่งผลักดันผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มทั้งด้านรูปแบบบรรจุภัณฑ์ และ/หรือคุณประโยชน์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตและแนวโน้มผู้บริโภคและขยายไปยังผู้บริโภคกลุ่มใหม่ที่มี อัตราการเติบโตสูง ได้แก่ กลุ่มพนักงานออฟฟิศ (White collar) กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ (New Economy Workers) กลุ่มผู้สูงวัย (Silver generation) และกลุ่ม Millennials โดยเปิดตัวผลิตภัณฑ์เอ็ม-150 สปาร์คกลิ้ง ในรูปแบบกระป๋อง มีการออกแบบที่ทันสมัย จับกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นในตลาดพรีเมี่ยม สอดคล้องกับกับกลยุทธ์การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของบริษัท กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม Functional Drinks นำเสนอผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเปปทีน ดริ๊งค์ ดี รสชาติใหม่ ดื่มง่าย มีวิตามินดีสูง ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองด้วยออริจินัล ซอยเปปไทด์ ส่วนผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มคาลพิสนำเสนอเครื่องดื่มที่เพิ่มคุณประโยชน์ใหม่และสร้างสรรค์รสชาติเฉพาะฤดูกาลอย่าง คาลพิส แลคโตะ สูตรไฟเบอร์ 5,000 มก. ช่วยปรับสมดุลทางเดินอาหารและระบบขับถ่าย และคาลพิส แลคโตะ โซดา กลิ่นแอปเปิ้ลอาโอโมริ เพิ่มความสดชื่นพร้อมประโยชน์จากแลคโตบาซิลลัส ตลอดจนผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มซี-วิทเปิดตัวผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มทางเลือกเพื่อสุขภาพสูตรปราศจากน้ำตาลรสเลมอน รสส้ม และรสชาติใหม่อย่างรสพีช เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาร์ค ที่นำเสนอสองรสชาติทางเลือกเพื่อสุขภาพทั้ง ชาร์ค โซดา รสเลม่อน ม็อกเทล และชาร์ค โซดา รสบ๊วยญี่ปุ่น สูตรปราศจากน้ำตาลและแคลอรี่

C-vitt 0% Sugar

โอสถสภา ร่วมมือกับ เฮ้าส์ เอเชีย แปซิฟิก พัฒนาสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เปิดตัวผลิตภัณฑ์สูตรไม่มีน้ำตาล ซี-วิท พีช และ ซี-วิท ออเร้นจ์ โดยนำองค์ความรู้และประสบการณ์จาก เฮ้าส์ เวลเนส ฟู้ด ประเทศญี่ปุ่น มาใช้ในการพัฒนาเครื่องดื่มวิตามินซีสูตรไม่มีน้ำตาล เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

Shark Refreshing Soda

โอสถสภา เพิ่มตัวเลือกผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้บริโภคโดยเปิดตัวเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ชาร์คโซดา กลิ่นพลัมญี่ปุ่น (Shark Ume) และ ชาร์คโซดา กลิ่นเลมอนม็อคเทล (Shark Lemon Mocktail) สูตรปราศจากน้ำตาลและแคลอรี่ อุดมด้วยซิงก์และวิตามินซี เติมความสดชื่นได้โดยไม่รู้สึกผิด

PEPTEIN Drink D

โอสถสภา พัฒนาเครื่องดื่มตัวใหม่ เปปทีน ดริ๊งค์ ดี (Peptein Drink D) ที่มีส่วนผสมของวิตามินดี มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยเครื่องดื่มเปปทีน ดริ๊งค์ ดี มีส่วนแบ่งการตลาดที่ 0.6% ภายในระยะเวลาเพียงหนึ่งเดือน ซึ่งเป็นการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์เปปทีนโดยรวม แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการขยายตลาดสินค้าภายใต้แบรนด์เดียวกัน

M-150 carbonated

เพื่อดึงดูดผู้บริโภคเครื่องดื่มชูกำลังรายใหม่ เอ็ม-150 สปาร์คกลิ้ง เปิดตัวผลิตภัณฑ์ 2 รสชาติใหม่ ได้แก่ รสออริจินัล และรสพิงค์เลมอนเนด เอ็ม-150 สปาร์คกลิ้ง เป็นเครื่องดื่มชูกำลังสูตรไม่เติมน้ำตาล ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจเรื่องการบริโภคน้ำตาล นอกจากนี้ ส่วนผสมคาเฟอีนในเครื่องดื่มทำจากสารสกัดกัวรานาและวิตามินบีอีกด้วย

  • นวัตกรรมเครื่องดื่มชูกำลังเพื่อเอาใจคนรุ่นใหม่ทั้งตลาดในประเทศและส่งออก
M-150 Honey

ผลิตภัณฑ์ใหม่ เอ็ม-150 ผสมน้ำผึ้ง ตัวเลือกราคาประหยัดสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการเติมความสดชื่นในราคาเพียง 10 บาท

  • สร้างความมั่นใจว่ากลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชูกำลังของเรานำเสนอโซลูชั่นที่มีคุณภาพในทุกช่วงราคา
Som in Sum Big

โสมอินซัมรูปแบบใหม่ขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพร ผสมผสานคุณประโยชน์ของสารสกัดสมุนไพร 2 ชนิด (โสมและตังกุย) และสารกระตุ้นคาเฟอีนจากสารสกัดกัวรานา โสมอินซัมรูปแบบใหม่เพิ่ม ปริมาณขึ้น 45% ในบรรจุขนาดขวดละ 145 มล.

  • เสริมความแข็งแกร่งให้กับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพรโสมอินซัม

ในขณะที่กลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลอย่างแบรนด์เบบี้มายด์ได้พัฒนาและคิดค้นเพื่อปรับสูตรผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งกลุ่มผลิตภัณฑ์เป็นสูตรออร์แกนิก 100% รวมถึงเปลี่ยนใช้บรรจุภัณฑ์ที่นอกจากจะปลอดภัยต่อ ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นแล้ว ยังช่วยลดปริมาณการใช้พลาสติกลงได้อีกด้วย และกลุ่มผลิตภัณฑ์โรลออนระงับกลิ่นกายภายใต้แบรนด์ทเวลฟ์ พลัส (Twelve Plus) และแบรนด์เอ็กซิท (Exit) มีการพัฒนานวัตกรรมในผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องด้วยความเชี่ยวชาญด้านน้ำหอมคุณภาพสูง ต่อยอดกับคุณสมบัติที่ช่วยบำรุงผิวควบคู่กับการระงับกลิ่นกายได้ยาวนานขึ้น

เบบี้มายด์

กลุ่มผลิตภัณฑ์เบบี้มายด์เปิดตัวผลิตภัณฑ์สูตรใหม่พร้อมปรับรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ในปี 2566 การเปิดตัวครั้งนี้ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคและธุรกิจ ดังนี้

  • ยกเลิกการใช้บรรจุภัณฑ์ขวด PVC และลดการใช้พลาสติกประมาณ 19 ตันต่อปี
  • การใช้บรรจุภัณฑ์ร่วมกัน และ ลดความซับซ้อน ทำให้จำนวนสินค้าสำเร็จรูปลงลง 32 SKU และ จำนวนบรรจุภัณฑ์ลดลง 68 SKU
  • สามารถลดต้นทุนได้ถึง 28 ล้านบาท จากการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์และการพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์
  • สูตรใหม่ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีขึ้น และใช้สารลดแรงตึงผิวที่ผลิตจากพืช 100%
  • สร้างการตอบรับกับตราสินค้าอย่างล้นหลาม จากการเปิดตัววิดีโอโฆษณายาว 4 นาที โดยมียอดเข้าชมมากกว่า 37 ล้านครั้ง ภายในระยะเวลา 1.5 เดือน เทียบเท่ามูลค่าการประชาสัมพันธ์กว่า 15 ล้านบาท พร้อมยอดผู้ติดตามกว่า 106 ล้านคน
ทเวลฟ์พลัส โรลออนระงับกลิ่นกาย

การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ โรลออนออร่า ไบรท์ สูตร 3D Formula ที่มีส่วนผสมของ AHA และวิตามินซี ส่งผลให้ยอดขายสุทธิเติบโตขึ้นถึง 14% พร้อมอัตรากำไรขั้นต้นสูงขึ้น ความสำเร็จนี้ทำให้ทเวลฟ์พลัส ขึ้นเป็นแบรนด์แข็งแกร่งอันดับ 2 ในตลาดโรลออน

ทเวลฟ์พลัส โคโลญจน์

ทเวลฟ์พลัสเปิดตัวโคโลญจน์ใหม่ด้วยแรงบันดาลใจจากน้ำหอมบนเคาน์เตอร์แบรนด์ระดับไฮเอนด์ ทำให้ผู้บริโภคกระแสหลักสามารถเข้าถึงน้ำหอมยอดนิยมได้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์โคโลญจน์ใหม่ กลิ่นเดียวกับผลิตภัณฑ์เบบี้มายด์อีกด้วย ทั้งนี้ ส่งผลให้ บริษัทมีรายได้ในส่วนของทเวลฟ์พลัส โคโลญจน์ เพิ่มขึ้น 120% จากปี 2565 และเป็นอันดับ 1 ในตลาดโคโลญจน์ในปี 2566

น้ำยาซักผ้าเบบี้มายด์

น้ำยาซักผ้าเบบี้มายด์เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 เป็นนวัตกรรมสูตรเพิ่มประสิทธิภาพความนุ่ม มากยิ่งขึ้น การพัฒนาอย่างยั่งยืนยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยมีแผนเปิดตัวการใช้สารลดแรงตึงผิวที่ทำ จากพืช 100% ในเดือนมกราคมปี 2567 นอกจากนี้ ทีมงานยังประสบความสำเร็จในการลดต้นทุนเป็นจำนวนเงิน 12 ล้านบาท แสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมที่มีคุณค่าต่อทั้งผู้บริโภค สิ่งแวดล้อม และโอสถสภา

อุทัยทิพย์พร้อมฝาหยดรูปแบบใหม่

ผลิตภัณฑ์อุทัยทิพย์กลับมาอีกครั้ง โดยวางจำหน่ายที่ร้าน 7-11 ในขวดขนาดใหม่ พร้อมฝาหยดรูปแบบใหม่ที่ได้รับการพัฒนาให้ผู้บริโภคสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้น

การปรับปรุงประสิทธิภาพการทดสอบอายุการเก็บรักษา

โอสถสภา ร่วมมือกับ Amatek ผู้ผลิตเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์เครื่องกลไฟฟ้าระดับโลก ในการลดระยะเวลาการทดสอบอายุผลิตภัณฑ์จากเดิม 12 เดือนให้เหลือเพียง 1 เดือน โดยผ่านการจัดเก็บผลิตภัณฑ์ในสภาวะที่เหมาะสมด้วยเครื่อง Sun Test ทำให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาที่อาจ เกิดขึ้นและทดสอบความคงตัวของผลิตภัณฑ์ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเครื่อง Sun Test สามารถเลียนแบบสภาวะจริง อาทิ ผลิตภัณฑ์ในคลังสินค้า ผลิตภัณฑ์ระหว่างการขนส่งและผลิตภัณฑ์บนชั้นวางสินค้า ทำให้เราสามารถมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์และ ตอบสนองต่อข้อร้องเรียนของผู้บริโภคได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ลดเวลาการทดสอบผลิตภัณฑ์ เทำให้สามารถตอบสนองต่อข้อร้องเรียนของผู้บริโภคได้ดีขึ้น

การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องล้างขวดแก้ว

เราศึกษาประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องล้างขวดแก้วโดยพิจารณาร่วมกับกระบวนการผลิตที่ใช้ความร้อนแบบองค์รวมที่โรงงานบรรจุเครื่องดื่ม แล้วทำการทดสอบการปรับการเวลาและอุณหภูมิให้เหมาะสมที่โรงงานนำร่อง (Pilot Plant) เพื่อให้เครื่องล้างขวดแก้วสามารถทำงานได้ตามมาตราฐานที่วางไว้ รวมถึงลดการใช้น้ำและพลังงานอย่างมีนัยสำคัญ

ลดต้นทุนกว่า
4 ล้านบาท/ปี
ลดการใช้พลังงาน
3,064 กิกะจูล/ปี
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
257 ตันคาร์บอน/ปี

การปรับปรุงรูปแบบวัตถุดิบที่จำหน่ายให้กับธุรกิจระหว่างประเทศของโอสถสภา

ขับเคลื่อนจากการพัฒนาด้านความยั่งยืน ทีมวิจัยและพัฒนาได้ปรับปรุงรูปแบบการส่งออกวัตถุดิบไปยังประเทศเมียนมาร์ ให้อยู่ในรูปแบบผง ทดแทนของเหลวรูปแบบเดิม โดยรูปแบบใหม่นี้ ช่วยลดต้นทุนและก่อเกิดความยั่งยืนในหลาย ขั้นตอนตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ การขนส่ง ไปจนถึงการผลิตสินค้าสำเร็จรูป

ลดต้นทุนกว่า
30 ล้านบาท/ปี
ลดปริมาณการใช้น้ำ
2,300 ลบ.ม./ปี
ลดการใช้พลังงาน
6,670 กะจูล/ปี
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
510 ตันคาร์บอน/ปี

เม็ดพลาสติกรีไซเคิลจากบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว

โอสถสภา ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับบริษัท Union J Plus ในประเทศไทย เพื่อจัดทำโครงการนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ภายใต้กรอบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Make-Use-Return)

โครงการนี้ดำเนินการโดยมีเป้าหมายในการจัดการขยะพลาสติกที่เกิดจากสายการผลิตของเรา ขยะพลาสติกจะถูกรวบรวมเพื่อรีไซเคิลและแปรรูปเป็นวัสดุใหม่ โดยมีบริษัท Union J Plus เป็นผู้ดูแลกระบวนการทั้งหมดจนถึงขั้นตอนการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล (PCR) จากนั้นเม็ดพลาสติก PCR จะถูกนำมาแปรรูปเป็นฟิล์ม PE แบบหดตัวเพื่อใช้ในการผลิตเครื่องดื่มที่โรงงานผลิตสลากผลิตภัณฑ์ของโอสถสภา

ปัจจุบัน มีการใช้เม็ดพลาสติก PCR ปริมาณ 30% ในโรงงานผลิตของโอสถสภา เป็นการช่วยลดปริมาณการใช้เม็ดพลาสติกใหม่ 169.9 ตันต่อปี

ลดความหนาของกระป๋องอะลูมิเนียม ดำเนินโครงการ Aluminum Loop CAN

โอสถสภา จับมือกับบริษัท Thai Beverage Can เพื่อลดการใช้อะลูมิเนียม โดยมีเป้าหมายลดความหนาของกระป๋อง ที่ใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ใหม่ตั้งแต่เดือนเมษายน 2566 เป็นต้นไป สอดคล้องกับการดำเนินโครงการ "Aluminium Loop CAN"

โครงการนี้ช่วยลดการใช้อะลูมิเนียมปริมาณ
341 ตันต่อปี

ภายใต้โครงการ "Aluminium Loop CAN" กระป๋องอะลูมิเนียมทั้งหมดที่ผลิตโดยโอสถสภา จะถูกนำเข้าสู่กระบวนการเพื่อการรีไซเคิลแบบครบวงจร โดยปริมาณของบรรจุภัณฑ์และกระบวนการรวบรวม มีความโปร่งใสและสามารถ ตรวจสอบย้อนกลับได้ ทั้งนี้ ประเทศไทยถือ เป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีความพร้อมในการจัดการขยะอะลูมิเนียมในประเทศอย่างเต็มรูปแบบ

ความสามารถทางเทคนิคเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำงานอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ในปี 2566 โอสถสภา ได้ร่วมมือกับบริษัท Specright ประเทศสหรัฐอเมริกา ในการปฏิวัติระบบการจัดการข้อกำหนดด้านบรรจุภัณฑ์ให้อยู่ในรูปแบบของแพลตฟอร์มอัตโนมัติ ความก้าวหน้าจากการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบดิจิทัลที่สำคัญของเราในครั้งนี้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความแม่นยำและความรวดเร็วในกระบวนการทำงานของทุกกลุ่มธุรกิจโอสถสภา เครื่องมือสำคัญนี้ สามารถปรับเพิ่มขนาดการใช้งานได้ตามความต้องการ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรวบรวมข้อมูลและจัดการข้อกำหนดด้านบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้ ยังช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกระบวนการภายใสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงโครงการริเริ่มเพื่อลดต้นทุนและพัฒนาความยั่งยืน

83 พนักงาน
ในตำแหน่งวิจัยและพัฒนา (R&D)
ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาทั้งหมด
167 ล้านบาท หรือ 4.8 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 0.64% ของยอดขายสุทธิ

Talcum Harmonized Packaging

โอสถสภาได้มีการวิจัยและพัฒนาโดยคำนึงถึงการออกแบบที่ช่วยส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนจากการลดปริมาณการใช้วัสดุพลาสติกในระบบบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มผลิตภัณฑ์แป้งเด็ก (Baby Talcum) และแป้งเย็น (Cool Talcum) ภายใต้ตราสินค้า Babi Mild, Twelve Plus และ Exit ซึ่งได้พิจารณาครอบคลุมถึงทั้งผลิตภัณฑ์ปัจจุบันและผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยมุ่งเน้นการลดน้ำหนักของทั้งขวดและฝา ประกอบกับลดความหลากหลายของขนาดขวดให้เหลือเพียงขนามาตรฐาน 3 ขนาดที่เหมาะสมและใช้ฝาขนาดเดียวกันร่วมกันทั้งหมด ช่วยลดน้ำหนักพลาสติกลงได้ถึง 119.59 ตันต่อปี

ในขณะเดียวกันการดำเนินการดังกล่าวส่งผลให้เกิดการลดน้ำหนักของฟิล์มหด (Shrink Film) ที่ใช้ในการรวมหน่วยเพื่อการขายสำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์แป้งเด็ก Babi Mild แพ็คคู่ด้วย เนื่องจากได้ยกเลิกการใช้ฟิล์มหด PVC เปลี่ยนไปใช้เป็น POF ทดแทน ซึ่งมีความหนาลดลง 45% คิดเป็นน้หนักพลาสติกที่ลดลงจากส่วนนี้ทั้งหมด 4.03 ตันต่อปี

นอกจากนี้ทางบริษัทยังมีเป้าหมายในการนำระบบบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวไปปรับใช้สำหรับการวิจัยละพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์แป้งเด็กและแป้งเย็นในอนาคต ซึ่งจะช่วยให้เกิดการลดการใช้พลาสติกและน้ำหนักของผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องอีกด้วย

ผลกำไรเติบโตขึ้น 6%
จากปี 2021
ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้
123.62 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ต่อปี

โอสถสภาลงทุนและต่อยอดงานวิจัยและพัฒนา (R&D) ผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ รวมถึงวัสดุทางเลือก เพื่อตอบโจทย์กับความคาดหวังของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปและมุ่งสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยรวม รวมถึงคำนึงเป้าหมายด้านความยั่งยืน บริษัทตั้งเป้าหมายระยะยาวสำหรับงบลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาอย่างน้อยร้อยละ 1 ของรายได้ โดยปัจจุบันโอสถสภาลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาคิดเป็นร้อยละ 0.3 ของรายได้ บริษัทมีการวางรากฐานผลักดันนวัตกรรมเพื่อการเติบโตโดยมีนักวิจัยมากกว่า 65 คนและอุปกรณ์ที่ทันสมัย ซึ่งทีมงานวิจัยและพัฒนาทำงานร่วมกับฝ่ายการผลิต ทีมขายและการตลาด และหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Cross-functional teams) ตลอดจนคู่ค้าทางธุรกิจ และทีมประสานงานรัฐกิจสัมพันธ์เพื่อมอบผลงานที่ดีที่สุดสู่ผู้บริโภค เพิ่มประสิทธิภาพทำงานวิจัยและพัฒนา แลกเปลี่ยนความเข้าใจเกี่ยวกับแนวโน้มตลาด เทคโนโลยี และแนวปฏิบัติสากล นอกจากนี้ โอสถสภาให้ความสำคัญด้านคุณภาพเป็นอันดับแรก โดยโรงงานผลิตที่หัวหมากได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพ ISO 9001 ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และบริษัทมุ่งมั่นพัฒนาความสามารถของบุคลากรผ่านการฝึกอบรม และเพิ่มมีประสิทธิภาพการเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ตลอดจนโรงงานผลิตทุกแห่งของบริษัท

โอสถสภามีศูนย์นวัตกรรมสองแห่ง ได้แก่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาที่สำนักงานใหญ่ หัวหมาก และศูนย์นวัตกรรมโอสถสภาที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย การมีห้องปฏิบัติการภายในองค์กรช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ต้นแบบโดยไม่กระทบกับกระบวนการผลิตหลัก นอกจากนี้ โอสถสภาร่วมมือกับนักวิจัยและนักวิชาการของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศ อาทิ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในการศึกษาและเข้าถึงข้อมูลวิเคราะห์วิจัยเชิงลึก เพื่อมาต่อยอดนวัตกรรมสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น