ผลการดำเนินงาน

จำนวนวัสดุที่ได้รับการจัดการและ ถูกส่งกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
ตัน
น้ำหนักพลาสติกลดลง
ตันต่อปี

การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการผลิตบรรจุภัณฑ์

หนึ่งในเป้าหมายทางด้านความยั่งยืนของโอสถสภา คือการมุ่งสู่การปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งการพัฒนาคุณสมบัติของวัสดุบรรจุภัณฑ์ให้มีความสามารถในการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ง่าย (Recyclable) หรือ สามารถใช้ซ้ำได้ (Reusable) หรือ สามารถย่อยสลายได้ (Compostable) เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ บริษัทฯ ได้กำหนดให้มีผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานเฉพาะทางในการดำเนินการวิจัยและพัฒนา

พร้อมทั้งดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ คู่ค้า และพันธมิตรทางธุรกิจในการร่วมกันบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนและขยายผลกระทบเชิงบวกแก่สังคม เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ กลยุทธ์ด้านบรรจุภัณฑ์ยั่งยืนของโอสถสภา ได้ดำเนินการครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ ไปจนถึงการนำหมุนเวียนวัสดุบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่

กลยุทธ์และเป้าหมายด้านบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน

การดำเนินการที่สำคัญ

การดำเนินการขับเคลื่อนเป้าหมายบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน ร่วมส่งเสริมแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ปี 2564 -2570 โอสถสภาได้ดำเนินการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ครอบคลุมทุกกลุ่มสินค้า ผ่านวิธีปฏิบัติที่หลากหลาย ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบที่เป็นมิตรต่อการรีไซเคิล จนถึงการคัดสรรนวัตกรรมที่เหมาะสมในการลดน้ำหนักบรรจุภัณฑ์ การใช้วัสดุรีไซเคิล และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยยังคงคุณสมบัติและคุณภาพบรรจุภัณฑ์ได้ดีเช่นเดิมอย่างประสบความสำเร็จ

การลดนํ้าหนักของบรรจุภัณฑ์

โอสถสภาดำเนินการวิจัยและพัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์โดยมีเป้าหมายเพื่อลดอัตราการใช้พลาสติก แก้ว และกระดาษในกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ โดยครอบคลุมทั้งการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ใหม่ (NPD) และบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิม เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน โดยโอสถสภาได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วโดยลดน้ำหนักของขวด แต่คงไว้ซึ่งคุณภาพเดิม และการพัฒนาในลักษณะเดียวกันถูกนำไปใช้กับบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์กระดาษ บรรจุภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด

ในปี 2566 บริษัทได้ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการเพื่อลดน้ำหนักขวดแก้ว สำหรับผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์โรลออน แบรนด์ทเวลฟ์ พลัส และเอ็กซิท ขนาด 25 มล. และ 45 มล.

ผลการดําเนินงานของการลดน้ําหนักของบรรจุภัณฑ์ ในปี 2566

การรีไซเคิลในกระบวนการผลิต

โอสถสภา มีการจัดการของเสียเหลือทิ้งจากการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ เราได้จัดตั้งศูนย์รีไซเคิลขั้นสูงในจังหวัดสระบุเพื่อลดปริมาณของเสีย เพิ่มการรีไซเคิล และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อบรรลุเป้าหมาย ในการส่งเสริมการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน ทีมงานโอสถสภายังคงดําเนินงาน เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพศูนย์รีไซเคิล พร้อมกันกับการเพิ่มปริมาณการจัดหาขยะเศษแก้วจากชุมชนท้องถิ่น เพื่อส่งไปยังกระบวนการผลิตขวดแก้วให้ได้มากที่สุด

ผลการดําเนินงานของการรีไซเคิลในกระบวนการผลิต ในปี 2566

ความร่วมมือด้านบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน

โอสถสภาเชื่อว่าความร่วมมือของเรากับพันธมิตรที่เกี่ยวข้องสามารถช่วยยกระดับชีวิตของผู้คน และช่วยปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม

ด้วยเหตุนี้ เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน เราดําเนินงานร่วมกับพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ที่หลากหลายในอุตสาหกรรม อันรวมถึงหน่วยงานภาครัฐ สมาคมธุรกิจ สถาบันการศึกษา คู่ค้า และบริษัทในเครือเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ในเชิงบวกตลอดห่วงโซ่คุณค่า

หลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (EPR)
ระดับอุตสาหกรรม
  • สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และ รีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (TIPMSE)
  • สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย
  • บริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน

โอสถสภา มีส่วนร่วมวางแผนในกระบวน การผลิตบรรจุภัณฑ์แนวทางใหม่ใบ โครงการ 'PACK BACK' ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมและบริษัทผู้ผลิต เพื่อพัฒนาโมเดสำหรับการจัดการของเสีย จากบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว

โครงการส่งขวดแก้วสู่ขวดแก้ว
ร่วมมือกับลูกค้าและผู้บริโภค
  • ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก
  • ผู้ให้บริการรถรับส่งมอเตอร์ไซค์
  • ชุมชน
  • กรมควบคุมมลพิษ
  • กรุงเทพฯ
  • กรมการค้าภายใน
  • Community Police

เราร่วมมือกับผู้ค้าปลีกรายย่อยเพื่อวางแผน การดําเนินงานรูปแบบใหม่ที่ช่วยส่งเสริมหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยมีการพัฒนาต้นแบบการรวบรวบของเสียและการรีไซเคิล ที่สามารถทําซ้ําและปฏิบัติตามได้เพื่อสร้างวัฒนธรรมการแยกขยะและการรวบรวมของเสียเตรียมสําหรับส่งต่อไปยังกระบวนการรีไซเคิล

การจัดหาเศษแก้วอย่างยั่งยืน
ร่วมมือกับคู่ค้าและผู้จัดจําหน่าย
  • วงษ์พาณิชย์ - ผู้รวบรวมและจัดหาขยะรีโซเคิลร่วมกับไทยเบเวอร์เรจแคนผู้จัดจำหน่ายกระป๋องอะลูมิเนียม

หนึ่งในโครงการจัดหาวัสดุเศษแก้วอย่างยั่งยืน โอสถาสภาร่วมมือกับผู้จัดหาวัสดุเศษแก้ว เพื่อส่งเสริมการรวบรวมเศษแก้วเหลือทิ้งจากครัวเรือนในท้องถิ่นและส่งกลับไปยังกระบวนการรีไซเคิล เพื่อเป็นการปิดวงจรการสร้างขยะจากบรรจุภัณฑ์ขวดแก้ว ทั้งนี้การดําเนินการดังกล่าวนอกจากส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมยังช่วยให้ผู้คนที่อาศัยในชุมชนโดยรอบมีสุขภาพที่ดีขึ้นอีกด้วย

โครงการ Aluminum Loop
ร่วมกับไทยเบเวอร์เรจแคน ผู้จัดจำหน่ายกระป๋องอะลูมิเนียม

Aluminium Loop CAN ผลิตภัณฑ์กระป๋องอะลูมิเนียมที่บุกเบิกในด้านความยั่งยืน แสดงถึงก้าวสำคัญสู่ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โอสถสภาร่วมมือกับผู้จัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์กระป๋องของเรา โดยมีเป้าหมายในการส่งคืนกระป๋องเครื่องดื่มที่ใช้แล้วกลับคืนสู่กระบวนการรีไซเคิล เพื่อผลิตเป็นกระป๋องใหม่ที่มีคุณภาพเทียบเท่ากัน ทำให้มั่นใจได้ว่าการรีไซเคิลจะเป็นวงจรปิดอย่างแท้จริง

โครงการบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน
ผู้จัดจำหน่ายที่เข้าร่วม ได้แก่
  • ไทยเบเวอร์เรจแคน
  • เอสซีจี เคมิคอลส์
  • พีทีที โกลบอล เคมิคอล
  • เอ็นวิคโค
  • ยูพีเอ็ม ราฟลาแทค

โอสถสภามุ่งมั่นที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืนในวงกว้าง รวมถึงเป้าหมายด้านบรรจุภัณฑ์ยั่งยืนของเรา ด้วยเหตุนี้ เราได้มีการทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้แปรรูปและผู้จัดจำหน่าย เพื่อพัฒนาโครงการ และแนวคิดด้านความยั่งยืนซึ่งเน้นหลัก 4Rs: ลด ใช้ซ้ำ รีไซเคิล และนำกลับมาใช้ใหม่ การมีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้จัดจำหน่ายถือเป็นจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าของโครงการริเริ่มด้านบรรจุภัณฑ์ยั่งยืนของโอสถสภาในอนาคต

2565 – ผลการดำเนินงานของความร่วมมือเพื่อบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน

วัสดุบรรจุภัณฑ์ ความครอบคลุม (% ของต้นทุนสินค้าที่ขาย) น้ำหนักทั้งหมด (เมตริกตัน) วัสดุที่มีการรีไซเคิลและ/ หรือได้รับการรับรอง (เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักทั้งหมด) เป้าหมายปี 2022 (% ของน้ำหนักรวม)
ไม้/ไฟเบอร์กระดาษ 100 15,110 98 95
โลหะ 100 11,427 20 15
บรรจุภัณฑ์แก้ว 100 280,583 75 -

บรรจุภัณฑ์จากพลาสติก

FY2562 FY2563 FY2564 FY2565 เป้าหมายของปี 2565
น้ำหนักรวม (ตัน) ของบรรจุภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด 7,707 5,715 6,637 6,701 7,500
เปอร์เซ็นต์บรรจุภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลได้ (เป็น % ของน้ำหนักรวมของบรรจุภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด) 70 76 74 91 78
เปอร์เซ็นต์ของบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ (เป็น % ของน้ำหนักรวมของบรรจุภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด) 0 0 0 0 0
เปอร์เซ็นต์ของวัสดุรีไซเคิลภายในบรรจุภัณฑ์พลาสติกของคุณ (เป็น % ของน้ำหนักรวมของบรรจุภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด) 0 0 0 0.0003 0
ความครอบคลุม (เป็น % ของต้นทุนขาย) 3.69 100 100 -