การกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณธุรกิจ
นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ด้วยคณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี และมุ่งหมายที่จะพัฒนาประสิทธิภาพการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ให้มีมาตรฐานที่ดียิ่งขึ้นไป เพื่อส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่ดีในกลุ่มบริษัท สนับสนุนให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารจัดการภายในองค์กร สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ถือหุ้น นักลงทุน หรือผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
ด้วยเหตุดังกล่าว คณะกรรมการบริษัทจึงได้พิจารณาทบทวนและปรับปรุง “นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance Policy)” อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติและแนวปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 (Corporate Governance Code for listed companies 2017) ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเป็นแนวทางในการกำกับดูแลกิจการที่ดีสอดคล้องกับบริบทของบริษัทฯ รวมทั้งสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และเพื่อให้มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีอันจะทำให้ธุรกิจของ บริษัทฯ ดำเนินไปได้อย่างยั่งยืนต่อไป
จรรยาบรรณในค่านิยมหลักและวัฒนธรรม
โอสถสภามุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาลด้วยความโปร่งใส ตามหลักจรรยาบรรณทางธุรกิจ (Code of Conduct) และค่านิยมหลักขององค์กร (ITIPs) ค่านิยมหลักซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงคุณสมบัติและการปฏิบัติที่บริษัทฯ คาดหวังในตัวพนักงานของโอสถสภา การดำเนินธุรกิจด้วยธรรมาภิบาล นอกจากช่วยกำหนดกรอบให้แก่การดำเนินงานของบริษัทฯ แล้ว ยังเป็นการระบุคุณสมบัติที่สำคัญสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลตั้งแต่การสรรหาพนักงาน การเลื่อนตำแหน่งการจัดการประสิทธิภาพการทำงานรายบุคคล และการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี พนักงานของบริษัทฯ จะต้องดำเนินงานตามหลักจรรยาบรรณทางธุรกิจและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีสอดคล้องกับค่านิยมหลักขององค์กรโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “Integrity” ที่เน้นย้ำในประเด็นด้านคุณธรรมและความรับผิดชอบ ที่โอสถสภา พนักงานในทุกระดับได้ถูกปลูกฝังเรื่องหลักจรรยาบรรณและมีการทบทวนหลักการต่าง ๆ เป็นประจำทุกปีเพื่อย้ำเตือน โดยพนักงานทุกคนต้องรับทราบ ทั้งนี้ หากพนักงานคนใดมีข้อสงสัยในประเด็นเรื่องจรรยาบรรณ สามารถขอคำปรึกษาจากทางโอสถสภาได้ผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์ และสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมเชิงลึก (Functional Deep Dive Activities) เพื่อเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การลงมือปฏิบัติในงานที่เกี่ยวข้องกับบทบาทและความรับผิดชอบของพนักงาน
ค่านิยมองค์กร (ITIPS)
มีคุณธรรมและความรับผิดชอบ
- พึงทำแต่สิ่งที่ถูกต้อง
- ยึดถือในคำสัญญา รับผิดชอบ ติดตามผลสำเร็จ
- เคารพและให้เกียรติผู้อื่น
การทำงานเป็นทีม
- มุ่งที่เป้าหมายองค์กรมากกว่าเป้าหมายส่วนตัว
- สนับสนุน ช่วยเหลือ และ แบ่งเบาภาระในทีม
- เปิดใจรับฟัง ใส่ใจ แบ่งปันข้อมูล
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- ใส่ใจลูกค้าเป็นที่ตั้ง
- สนใจใฝ่ความรู้อยู่เสมอ
- ลงมือทำไอเดียใหม่ๆ ให้กลายเป็นจริง
มุ่งมั่นคว้าชัยชนะ
- ตั้งเป้าหมายให้ท้าทายและไปให้ถึง
- ทำงานโดยมีจิตสำนึกของความเร่งด่วน
- มองหาความเป็นเลิศ
ยึดมั่นและมีจิตสำนึกด้านความยั่งยืน
- ยึดมั่นในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- มีจิตสำนึกต่อสังคมและส่วนรวม
- คำนึงถึงผลลัพธ์ในระยะยาว
แนวทางการบริหารจัดการ
การบริหารความเสี่ยง
โอสถสภาตระหนักและให้ความสำคัญกับการบริหารความสี่ยงที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในทุกภาคส่วน การบริหารจัดการความเสี่ยงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสถียรภาพระยะยาว ในการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามป้าหมายและระดับความเสี่ยงที่บริษัทรับได้ บริษัทเชื่อว่าการบริหารความสี่ยงสามารถลดความเสี่ยงจากเหตุวิกฤตหรือเหตุการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและโอกาสทางธุรกิจให้กับบริษัท
การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
พนักงานทุกระดับได้รับการอบรมและผ่านการทดสอบหลักสูตรด้านการต่อต้านการคอร์รัปชัน
บริษัทฯ มีนโยบายที่จะต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบโดยมุ่งเน้นส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม ความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจตามหลักจรรยาบรรณทาง ธุรกิจของบริษัทฯ ตลอดจนดำเนินธุรกิจตามหลักจรรยาบรรณทางธุรกิจของ บริษัทฯ ตลอดจนดำเนินธุรกิจด้วยระบบบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ส่งเสริมให้มีการอบรมและสร้างจิตสำนึก ให้พนักงานทำงานโดยสุจริตและกำกับดูแลการปฏิบัติเพื่อต่อต้าน การทุจริตโดยบริษัทฯ มีการกำหนดหลักการที่สำคัญดังต่อไปนี้
การกำหนดหลักการที่สำคัญ
การกำหนดหลักการที่สำคัญ
แนวทางการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
บริษัทฯ ไม่ยอมรับการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ (Zero Tolerance for Corruption) และจะปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศไทยและของประเทศที่บริษัทฯ เข้าไปดำเนินธุรกิจ รวมถึงกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ต้องปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้โดยเคร่งครัด รวมถึงระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของบริษัทฯ โดยจะต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ไม่เรียกร้องดำเนินการ หรือ ยอมรับการคอร์รัปชัน เพื่อประโยชน์ต่อบริษัทฯ ตนเอง หรือบุคคลใดๆ โดยบริษัทฯ ได้กำหนดแนวปฏิบัติที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
ห้ามมิให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ให้หรือรับของขวัญ การเลี้ยงรับรอง ที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
การบริจาคเพื่อการกุศลต้องกระทำในนามของบริษัทแก่องค์กรใดๆ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ต่อสังคม โดยต้องเป็นองค์กรที่เชื่อถือได้ และต้องดำเนินการด้วยความโปร่งใส ผ่านขั้นตอนการปฏิบัติงานของบริษัทฯ ที่กำหนดไว้และถูกต้องตามกฎหมาย ตลอดจนมีการติดตามและตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าการบริจาคดังกล่าวไม่ได้ถูกนำไปใช้เป็นช่องทาง ในการทุจริตคอร์รัปชัน
การให้การสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นเงิน วัตถุ หรือทรัพย์สินแก่กิจกรรมหรือโครงการใด ต้องมีการระบุชื่อบริษัทฯ โดยการให้การสนับสนุนนั้นต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมธุรกิจและภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัทฯ และต้องดำเนินการด้วยความโปร่งใสผ่านขั้นตอนการปฏิบัติงานของบริษัทฯ ที่กำหนดไว้และถูกต้องตามกฎหมาย ตลอดจนมีการติดตามและตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าการให้การสนับสนุนดังกล่าวไม่ได้ถูกนำไปใช้เป็นช่องทางในการทุจริตคอร์รัปชัน
บริษัทฯ มีนโยบายเป็นกลางทางการเมือง โดยจะไม่ให้การช่วยเหลือทางการเมือง ไม่กระทำการอันเป็นการฝักใฝ่พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง และไม่ทำกิจกรรมใดๆ ที่อาจทำให้เกิดความเข้าใจว่าบริษัทฯ มีส่วนเกี่ยวข้องหรือฝักใฝ่พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม อย่างไรก็ตาม บุคลากรทุกคนของบริษัทฯ มีสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองตามกฎหมาย แต่ต้องไม่ดำเนินการหรือดำเนินกิจกรรมรวมถึงนำทรัพยากรใดๆ ของบริษัทฯ ไปใช้พื่อดำเนินการ หรือกิจกรรมทางการเมืองอันจะทำให้บริษัทฯ สูญเสียความเป็นกลาง หรือได้รับความเสียหายจากการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง
บริษัทฯ ไม่มีนโยบายในการจ่ายค่าอำนวยความสะดวกในรูปแบบใดๆ ในลักษณะที่อาจถูกเข้าใจว่าเป็นการให้หรือรับสินบนทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่เจ้าหน้าที่รัฐ หรือบุคลากรของหน่วยงานภายนอก
การจ้างเจ้าพนักงานของรัฐ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ สามารถกระทำได้ตามความเหมาะสม แต่การจ้างดังกล่าวต้องไม่เป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทฯ หรือก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างหน่วยงานของรัฐกับบริษัทฯ หรือเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความได้เปรียบทางธุรกิจ
การจัดซื้อจัดจ้างต้องดำเนินการด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และเป็นไปตามขั้นตอน ระเบียบ และวิธีการที่บริษัทฯ กำหนด รวมทั้งต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
บริษัทฯ มีกระบวนการการบริหารงานบุคคลที่โปร่งใสและเป็นธรรม โดยครอบคุลมตั้งแต่การสรรหา การคัดเลือก การฝึกอบรม การประเมินผลการปฏิบัติงาน การให้ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ต่างๆ และการเลื่อนตำแหน่ง
บริษัทฯ มีขั้นตอนในการเก็บรักษาเอกสารและบันทึกต่างๆ ที่พร้อมต่อการตรวจสอบเสมอ มีหลักฐานเอกสารประกอบการปฏิบัติงานทุกขั้นตอนอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอ
บริษัทฯ มีการประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชันของบริษัทอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และจัดทำมาตรการ จัดการความเสี่ยงให้มีความเหมาะสมในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้และเป็นไปตามระบบควบคุมภายในของบริษัทฯ โดยรายงานการประเมินความเสี่ยงดังกล่าวให้คณะกรรมการบริษัทรับทราบ
บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในและกระบวนการสอบทานอย่างเหมาะสมและเพียงพอจากหน่วยงานตรวจสอบภายใน ซึ่งครอบคลุมถึงกระบวนการเก็บบันทึกข้อมูลทางการเงิน การบัญชี และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของบริษัทฯ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยรายงานผลการตรวจสอบ และสอบทานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
บริษัทฯ สื่อสารนโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบ ได้แก่ กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน บริษัทย่อยในประเทศ ตัวแทนทางธรุกิจ และคู่ค้า
การแจ้งเบาะแส
ร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสเมื่อพบเห็นการกระทำที่เชื่อได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนนโยบายฉบับนี้ โดยขั้นตอนให้เป็นไปตามนโยบายเกี่ยวกับการร้องเรียนและการแจ้งเบาะแส ทั้งนี้ ผู้ร้องเรียนหรือผู้แจ้งเบาะแส และพยาน จะได้รับการปกป้องคุ้มครองที่เหมาะสมและเป็นธรรมจากบริษัทฯ โดยบริษัทฯ จะเก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน บุคคลที่แจ้งเรื่องร้องเรียน และพยาน เป็นความลับ และไม่เปิดเผยต่อบุคคลใดๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามข้อกำหนดของกฎหมาย
การขอคำแนะนำ
กรณีที่มีข้อสงสัยว่าการกระทำนั้นอาจฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ นโยบาย และแนวปฏิบัติด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน สามารถขอคำแนะนำจากฝ่ายเลขานุการบริษัท
บริษัทฯ จะคุ้มครองบุคลากรของบริษัทฯ ที่ปฏิเสธการทุจริตคอร์รัปชัน โดยจะไม่ลดตำแหน่ง ลงโทษ หรือให้ผลกระทบทางลบต่อบุคคลดังกล่าว แม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้บริษัทฯ สูญเสียโอกาสทางธุรกิจ
ผู้ที่กระทำการการทุจริตคอร์รัปชันถือเป็นการกระทำผิดตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทฯ ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยที่กำหนดไว้ รวมถึงอาจได้รับโทษตามกฎหมาย หากการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย