สิทธิมนุษยชน
โอสถสภากับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
ในปี 2566 เหตุการณ์ การละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็น
หมายเหตุ การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่มบริษัทโอสถสภาครอบคลุมโรงงานและพื้นที่ปฏิบัติงานทั้งหมด 16 แห่ง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทฯ ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ครอบคลุมไปถึงคู่ค้าทางธุรกิจ
แนวทางการบริหารจัดการ
การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนถูกกำหนดเข้าเป็นหนึ่งในกลยุทธ์เสาหลัก ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (ESG) ของบริษัทฯ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและความต่อเนื่องของธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน พร้อมทั้งเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นในการสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดของบริษัทฯ ครอบคลุมพนักงาน คู่ค้า ผู้รับเหมา พันธมิตรทางธุรกิจ บริษัทร่วมทุน รวมไปถึงผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจอื่น ๆ อันได้แก่ กิจการควบรวมใหม่ ไปจนถึง ลูกค้า ผู้บริโภค และชุมชนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนไปถึง กลุ่มที่มีความเสี่ยง/กลุ่มเปราะบาง อาทิ หญิงตั้งครรภ์ กลุ่ม LGBTQI+ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ แรงงานข้ามชาติ พนักงานบุคคลภายนอก ชนพื้นเมือง และชุมชนท้องถิ่นที่อาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางธุรกิจตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยดำเนินการตรวจสอบและระบุประเด็นความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชน
เพื่อให้มั่นใจว่าประเด็นความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนจะได้รับการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมตามหลักสิทธิความเป็นมนุษยชน พร้อมทั้งสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กรตลอดจนถึงสร้างสิ่งแวดล้อมในที่ทํางานให้มีสุขภาพดี พนักงานมีความสุขเพื่อให้มั่นใจว่าประเด็นความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนจะได้รับการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมตามหลักสิทธิความเป็นมนุษยชน พร้อมทั้งสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร ตลอดจนถึงสร้างสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานให้มีสุขภาพดี พนักงานมีความสุข ซึ่งจะสามารถนำไปสู่การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและการดำเนินธุรกิจยั่งยืนได้
การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD)
โอสถสภาได้ดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) ซึ่งเป็นกระบวนการในการประเมินความเสี่ยงตามกรอบหลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (The UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs)
นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีการประกาศนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งมีหลักการสอดคล้องกับนโยบายของประเทศไทย รวมไปถึง มาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล อันประกอบด้วย
- พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
- ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR)
- กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR)
- กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights: ICESCR)
- ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact: UNGC)
- หลักการชี้แนะเรื่อง สิทธิมนุษยชนสำหรับธุรกิจ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP)
- คำประกาศขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในที่ทำงาน
- องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องในหลักการความมั่นคงและสิทธิมนุษยชนโดยสมัครใจ (Voluntary Principles on Security and Human Rights) มาเป็นแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอีกด้วย
กระบวนการการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Right Due Diligence: HRDD)
การดำเนินงานที่สำคัญ
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (Human Right Risk Assessment: HRRA)
โอสถสภาได้ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (Human Right Risk Assessment: HRRA) บริษัทฯ กำหนดขอบเขตในการตรวจสอบและการระบุประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง
โดยครอบคลุมทุกโรงงานและพื้นที่ปฏิบัติงานในกลุ่มบริษัทโอสถสภา ครอบคลุมไปถึงคู่ค้าทางธุรกิจ เป็นประจำทุกสามปี โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อระบุ ป้องกัน และบรรเทา ประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้น ผ่านการนำมาซึ่งมาตรการเยียวยาภายในองค์กรไปจนถึงการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้แน่ใจได้ว่าจะไม่มีการละเมิดทางด้านสิทธิมนุษยชนและสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่อุปทาน
ระดับความรุนแรงของผลกระทบและโอกาสที่อาจเกิดขึ้น
โอสถสภาได้ทำการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนโดยใช้ตารางประเมินความเสี่ยงเพื่อกำหนดและลำดับความสำคัญของความเสี่ยงแต่ละประเด็น กำหนดการประเมินผ่านเกณฑ์ระดับความรุนแรงของผลกระทบและโอกาสในการเกิดของความเสี่ยง โดยคำนึงถึงเรื่อง ขนาด ขอบเขต และความสามารถในการเยียวยา
การดำเนินการตามแนวปฏิบัตินี้จะทำให้บริษัทฯ สามารถจัดลำดับความสำคัญและจัดการประเด็นความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนตามระดับความรุนแรงของประเด็นความเสี่ยงได้ ซึ่งประเด็นที่จะถูกพิจารณาว่ามีระดับของผลกระทบและโอกาสในการเกิดสูง จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง ซึ่งบริษัทฯ จะกำหนดให้มีการบริหารจัดการป้องกันการเกิดประเด็นเหล่านี้อย่างเร่งด่วน เพื่อลดความรุนแรงและ/หรือความเป็นไปได้ที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งติดตามความคืบหน้าการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
ประเด็นความเสี่ยงในองค์กร
ประเด็นความเสี่ยงในห่วงโซ่คุณค่า
ผลการดำเนินงาน การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (Human Right Risk Assessment : HRRA)
โอสถสภาประเมินโรงงานและพื้นที่ปฏิบัติการทั้งหมด 100% (13 สถานที่ปฏิบัติการ) 5 ประเด็นความเสี่ยงที่พบภายในองค์กร มีการกำหนดให้มีมาตรการบรรเทาความเสี่ยงและกลไกป้องกันผลกระทบของทุกประเด็นความเสี่ยงครบทุกประเด็น ดังนี้
ความเสี่ยง
โรงงานและพื้นที่ปฏิบัติงานในองค์กรที่อาจได้รับผลกระทบ
ผู้ทรงสิทธิ์ที่อาจได้รับผลกระทบ
มาตรการบรรเทาความเสี่ยง และ กลไกป้องกันผลกระทบ
ความเสี่ยง
โรงงานและพื้นที่ปฏิบัติงานในองค์กรที่อาจได้รับผลกระทบ
ผู้ทรงสิทธิ์ที่อาจได้รับผลกระทบ
มาตรการบรรเทาความเสี่ยงและกลไกป้องกันผลกระทบ
ความเสี่ยง
โรงงานและพื้นที่ปฏิบัติงานในองค์กรที่อาจได้รับผลกระทบ
ผู้ทรงสิทธิที่อาจได้รับผลกระทบ
มาตรการบรรเทาความเสี่ยงและกลไกป้องกันผลกระทบ
ความเสี่ยง
โรงงานและพื้นที่ปฎิบัติงานในองค์กร ที่อาจได้รับผลกระทบ
ผู้ทรงสิทธิที่อาจได้รับผลกระทบ
มาตรการบรรเทาความเสี่ยงและกลไกป้องกันผลกระทบ
ความเสี่ยง
โรงงานและพื้นที่ปฎิบัติงานในองค์กร ที่อาจได้รับผลกระทบ
ผู้ทรงสิทธิที่อาจได้รับผลกระทบ
มาตรการบรรเทาความเสี่ยงและกลไกป้องกันผลกระทบ
วิธีการ/ขั้นตอนการติดตามและการรายงานความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
โอสถสภาได้จัดทําช่องทางการแจ้งเบาะแสและการรายงาน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียและผู้ทรงสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมด สามารถรายงานเหตุการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการไม่ปฏิบัติตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทฯ ทั้งนี้ผู้แจ้งเบาะแสจะได้รับความคุ้มครองโดยบริษัทฯ จะไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ ข้อมูลที่ได้รับผ่านช่องทางเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตรวจสอบและติดตามการผลดำเนินงานของบริษัทฯ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน
บริษัทฯ จะนำข้อมูลที่ได้จากช่องทางเหล่านี้ไปพัฒนาและปรับปรุงในการกำหนดมาตรการบรรเทาความเสี่ยงและกลไกป้องกันผลกระทบที่มีอยู่ รวมไปถึงการพัฒนามาตรการเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทฯ ทั้งทางตรงและทางอ้อม บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะตรวจสอบอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส บริษัทฯ ยังได้มีการสื่อสารถึงการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ผ่านเว็บไซต์ของโอสถสภา ซึ่งสามารถเข้าถึงได้โดยสาธารณะ
“ผู้ทรงสิทธิ์” ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมดที่ได้รับผลกระทบสามารถรายงานและแจ้งข้อมูลที่เป็นความลับผ่านช่องทาง ดังนี้
รายงานบุคคล
สายด่วน
Call Center
อีเมล
กล่องจดหมายร้องเรียน
ติดต่อหัวหน้าแผนกการตรวจสอบบัญชีภายใน
ของบริษัทโอสถสภา จำกัด (มหาชน) 132 ไปรณีย์คลองจั่น แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240หนังสือถึงประธานกรรมการตรวจสอบหรือกรรมการ
บริษัทโอสถสภา จำกัด (มหาชน) อาคาร 5 เลขที่ 348 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240กลไกการเยียวยากรณีเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน
โอสถสภามุ่งมั่นในการรักษามาตรฐานสูงสุดของการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม และตระหนักถึงความสำคัญขั้นพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน ด้วยเหตุนี้ องค์กรจึงคำนึงถึงความสำคัญของการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้มีการกำหนดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อป้องกันและบรรเทาความเสี่ยงดังกล่าว นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการติดตามและรายงานผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้การบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
โอสถสภาได้มีการทบทวนพันธกรณีตามนโยบายอย่างสม่ำเสมอ และดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อจัดการข้อร้องเรียนหรือการละเมิดที่อาจเกิดขึ้น โดยให้ความสำคัญกับมาตรการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะดำเนินการแก้ไขในทันทีโดยให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูและเยียวยาผู้ทรงสิทธิ์ที่ได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งการแก้ไขความเสียหายใดที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ ทั้งนี้ มาตรการเยียวยาดังกล่าวอาจหมายถึงการชดเชยในรูปแบบที่เหมาะสม (เช่น การขอโทษ การชดเชย การฟื้นฟูเยียวยา ทางการเงินหรือที่ไม่ใช่ทางการเงิน) ตลอดจนบทลงโทษและมาตรการเชิงรุกเพื่อป้องกันเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต