ผลการดำเนินงาน

สัดส่วนพนักงานทั้งหมดจำแนกตามเพศ
ตัวชี้วัดความหลากหลาย ร้อยละ (0-100%) เป้าหมายที่เปิดเผยสู่สาธารณะ
สัดส่วนผู้หญิงในพนักงานทั้งหมด (คิดเป็นร้อยละของพนักงานทั้งหมด) 44.3 40
สัดส่วนผู้หญิงในตำแหน่งบริหารทั้งหมด รวมทั้งระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง (คิดเป็นร้อยละของตำแหน่งบริหารทั้งหมด) 52.5 50
สัดส่วนผู้หญิงในตำแหน่งบริหารระดับต้น หรือระดับการบริหารขั้นแรก (คิดเป็นร้อยละของตำแหน่งบริหารระดับต้นทั้งหมด) 52.1 50
สัดส่วนผู้หญิงในตำแหน่งบริหารระดับสูง โดยอยู่ห่างจาก CEO สูงสุดไม่เกินสองระดับ หรือในตำแหน่งที่เทียบเท่า (คิดเป็นร้อยละของตำแหน่งบริหารระดับสูงทั้งหมด) 53.1 50
สัดส่วนผู้หญิงในตำแหน่งบริหารฝ่ายที่สร้างรายได้ (เช่น ฝ่ายขาย) คิดเป็นร้อยละของผู้จัดการทั้งหมดในฝ่ายดังกล่าว (ไม่รวมฝ่ายสนับสนุน เช่น ฝ่ายบุคคล, ไอที, ฝ่ายกฎหมาย ฯลฯ) 55.8 50
สัดส่วนผู้หญิงในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับ STEM (คิดเป็นร้อยละของตำแหน่ง STEM ทั้งหมด) 53.6 50
ตัวชี้วัดด้านค่าตอบแทนระหว่างเพศ
ระดับพนักงาน ค่าตอบแทนเฉลี่ยของผู้หญิง ค่าตอบแทนเฉลี่ยของผู้ชาย
ระดับผู้บริหารระดับสูง (เฉพาะเงินเดือนพื้นฐาน) 858,050 832,393
ระดับผู้บริหารระดับสูง (เงินเดือนพื้นฐาน + สิ่งจูงใจเป็นเงินสดอื่น ๆ) 887,217 864,893
ระดับบริหาร (เฉพาะเงินเดือนพื้นฐาน) 176,202 205,474
ระดับบริหาร (เงินเดือนพื้นฐาน + สิ่งจูงใจเป็นเงินสดอื่น ๆ) 183,423 213,920
ระดับพนักงานทั่วไป (เฉพาะเงินเดือนพื้นฐาน) 30,151 22,929
สัดส่วนพนักงานทั้งหมดจำแนกตามสัญชาติ
การจำแนกตามสัญชาติ สัดส่วนในพนักงานทั้งหมด (คิดเป็น % ของพนักงานทั้งหมด) สัดส่วนในตำแหน่งผู้บริหารทั้งหมด รวมถึงระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง (คิดเป็น % ของพนักงานระดับบริหารทั้งหมด)
ไทย 90.4 95.33
เมียนมาร์ 7.81 2
อินโดนีเซีย 1.6 1
อื่น ๆ (ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, สหราชอาณาจักร, อิตาลี) 0.19 1.67

ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม

กลยุทธ์การจ่ายค่าตอบแทนมีผลต่อการสร้างแรงจูงใจและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถ รวมถึงส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้า โอสถสภาได้มีการวิเคราะห์และทบทวนกลยุทธ์ค่าตอบแทนและสวัสดิการของพนักงานอยู่เสมอในทุกปี เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทมีความสามารถในการแข่งขันที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับบริษัทชั้นนำแห่งอื่นๆ

ทั้งนี้ สวัสดิการและค่าตอบแทนที่บริษัทมอบให้พนักงานอยู่ในรูปแบบที่หลากหลาย อันได้แก่ เงินเดือน โบนัส กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ตลอดจนเงินช่วยเหลือด้านการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือสำหรับการสมรส การคล การปฏิบัติอดบุตร การฌาปนกิจสำหรับพนักงานและสมาชิกในครอบครัว ของขวัญสำหรับการคลอดบุตรคนแรก และวันลาต่างๆ เป็นต้น

การจัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการ

โอสถสภาสนับสนุนให้พนักงานมีเสรีภาพการรวมกลุ่มอย่างอิสระ (freedom of association) โดยจัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการ ซึ่งมีหน้าที่หลักคือเป็นตัวแทนของพนักงานทั่วทั้งองค์กร 100% ในการสื่อสารและเจรจากับริษัทฯ เกี่ยวกับการปรับปรุงสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ รวมถึงการจัดทำมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยให้พนักงานมีความปลอดภัย ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมในที่ทำงาน เพื่อสร้างความผูกพันและประสบการณ์ทำงานที่ดี คณะกรรมการสวัสดิการของบริษัทฯ มาจากการเลือกตั้งโดยพนักงาน โดยจะมีวาระ 2 ปี

การเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการชุดปัจจุบันประกอบด้วยกรรมการทั้งหมด 67 คน มาจากการเลือกตั้งซึ่งมีพนักงานเข้าร่วมการเลือกตั้งทั้งทางออนไลน์และณ จุดเลือกตั้ง เป็นผู้แทนพนักงานจากสำนักงานสาขา โรงงาน และบริษัทฯ ย่อยสำคัญของบริษัทฯ เช่น สำนักงานใหญ่สาขาหัวหมาก สำนักงานสาขาอยุธยา โรงงานกรีนส์วิล และโรงงานสยามกลาสอยุธยา เป็นต้น มีวาระในปี 2567-2568 โดยในปี 2567 มีการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น ความต้องการ และข้อเสนอแนะจากพนักงาน 4 ครั้งรายไตรมาส โดยได้มีการปรับปรุงสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ที่ได้ประโยชน์แก่พนักงานทั่วทั้งองค์กร 100% ที่สำคัญ อาทิ

  1. เพิ่ม “สวัสดิการเท่าเทียม” สำหรับพนักงานเพศทางเลือกและมีความหลากหลาย สนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียมกันภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็น “เงินช่วยเหลือพิธีสมรส” และ “เงินช่วยเหลืองานศพของบุคคลในครอบครัว”
  2. จัดให้บริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่แก่พนักงานทุกคน นอกเหนือไปจากสวัสดิการรักษาพยาบาล