การบริหารจัดการของเสีย
ผลการดำเนินงาน
ปริมาณของเสียฝังกลบเป็น
แนวทางการบริหารจัดการ
บริษัทฯ จัดการของเสียตามแนวทาง Reduce Re-use Recycle (3Rs) โดยมีเป้าหมายในการลดของเสียที่เกิดจากกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทฯ ให้ได้มากที่สุด ซึ่งแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพของโอสถสภาสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGS) ข้อที่ 12 ว่าด้วยเรื่อง การบริโภคและการผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ
Make
USE
Recycled
การจัดการของเสียด้วยวิธีฝังกลบเป็นศูนย์
เพื่อบรรลุเป้าหมายการจัดการของเสียด้วยวิธีฝังกลบเป็นศูนย์ โอสถสภาได้มีดำเนินการเพื่อลดปริมาณของเสียจากการดำเนินงานให้เหลือน้อยที่สุด โดยปฏิบัติตามแนวทางการจัดการของเสียที่เกิดจากการกระบวนการผลิต เพื่อบรรลุเป้าหมายการจัดการของเสียด้วยวิธีฝังกลบเป็นศูนย์ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดด้านกฎระเบียบในท้องถิ่น และส่งเสริมหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน
การสูญเสียอาหาร & ขยะอาหาร
โอสถสภาได้นำกลยุทธ์การบริหารจัดการการสูญเสียอาหารและขยะอาหารมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อลดปริมาณของเสียและลดผลกระทบต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญกับการประเมินการสูญเสียวัตถุดิบและการเกิดขยะอาหารในทุกขั้นตอนตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่ในกระบวนการผลิตเครื่องดื่ม การจัดเก็บ การขนส่งและการกระจายสินค้า ไปจนถึงในระดับผู้บริโภค
การสูญเสียอาหารและผลกระทบ
การสูญเสียอาหารและผลกระทบ (ตัน) | 2563 | 2564 | 2565 | 2566 | เป้าหมายปี 2566 |
---|---|---|---|---|---|
ปริมาณการสูญเสียอาหารและขยะอาหารทั้งหมด (ตัน) | 13,324.52 | 12,453.49 | 13,469.31 | 12,210.99 | 12,795.85 |
ปริมาณขยะอาหารที่นำกลับไปใช้ประโยชน์ (ตัน) | 11,534.06 | 9,335.22 | 10,506.85 | 9,418.37 | 9,000 |
ปริมาณขยะอาหารที่นำไปกำจัด (ตัน) | 1,790.46 | 3,118.28 | 2,962.46 | 2,792.63 | 2,500 |
ความเข้มข้นของการสูญเสียอาหารและขยะอาหารทั้งหมดเทียบกับยอดขายสินค้ากลุ่มเครื่องดื่ม (ตันต่อล้านบาท) | 0.083 | 0.137 | 0.135 | 0.132 | 0.13 |
ขอบเขตการเก็บข้อมูล: โรงงานผลิตเครื่องดื่มในไทยและต่างประเทศ | 100 | 100 | 100 | 100 | 100 |
ปริมาณการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร จำแนกตามวงจรชีวิต
กระบวนการผลิต
การจัดเก็บ
การขนส่งและการกระจายสินค้า
ผู้บริโภค
แนวทางการดำเนินงานด้านขยะอาหาร
โอสถสภาตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการขยะอาหารอย่างยั่งยืน บริษัทฯ ได้กำหนดแนวทางบริหารจัดการในการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร โดยการตั้งเป้าหมายลดปริมาณของเสียด้วยวิธีฝังกลบให้เป็นศูนย์ (Zero Waste to Landfill) ภายในปี 2573 และเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDGs) เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ในเป้าประสงค์ 12.3 ลดขยะเศษอาหารของโลกลงครึ่งหนึ่งในระดับค้าปลีกและผู้บริโภคและลดการสูญเสียอาหารจากกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน บริษัทฯ จึงกำหนดแนวทางในการจัดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้
การดําเนินการที่สําคัญ
การบริหารจัดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร
การควบคุมระบบการเก็บข้อมูลเพื่อบันทึกปริมาณการสูญเสียขยะอาหารที่เกิดจากกระบวนการผลิต
โอสถสภามีโครงการติดตามและลดปริมาณผลิตภัณฑ์สูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ตามนโยบาย Manufacturing 4.0 โดยใช้โปรแกรมติดตามการผลิตแบบต่อเนื่อง (Line monitoring) เพื่อการติดตามและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วเพื่อควบคุมการสูญเสียให้ได้ตามเป้าหมาย
ในปี 2566 ทางโรงงานผลิตมีการตั้งเป้าหมายเพื่อควบคุมปริมาณของเสียในกระบวนการผลิตลดลงร้อยละ 2 ของยอดการสูญเสียปี 2565 คิดเป็น 180,118 กิโลกรัม ลดได้จริง 874,143 กิโลกรัม ร้อยละ 9.71
และโครงการลดการสูญเสียผลิตภัณฑ์จากการผลิต (2567) เพื่อยกระดับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานการผลิตตลอด Mfg. Value Chain เพื่อลดปริมาณการสูญเสียจากการผลิตอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ โดยจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดมความคิดนำเสนอโครงการลด Food Loss ในขบวนการผลิต โดยสามารถรวบรวมโครงการที่สามารถนำไปสู่การลดการสูญเสียในกระบวนการผลิตได้ 36 โครงการ และ คาดว่าจะสามารถสนับสนุนเป้าหมายการลดปริมาณการสูญเสียร้อยละ 3 จากการสูญเสียในปีที่ผ่านมาคิดเป็น 243,952 กิโลกรัม
การลดปริมาณการสูญเสียขยะอาหารในกระบวนการผลิต
"โครงการลดการสูญเสียผลิตภัณฑ์จากการเริ่มการผลิต (2565-2566) "
ทางโรงงานผลิตได้นำเทคโนโลยีการวัดคุณภาพผลิตภัณฑ์แบบอัตโนมัติและระบบควบคุมการทำงานแบบอัตโนมัติมาทดแทนการใช้พนักงาน เพื่อลดการสูญเสียผลิตภัณฑ์และลดเวลาในขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพตอนเริ่มการผลิต
ทำให้ลดการสูญเสียผลิตภัณฑ์ได้
"โครงการลดการสูญเสียผลิตภัณฑ์ที่ตกค้างในเครื่องจักรก่อนการล้างเครื่องโดยการขยายระยะเวลากาผลิต (2565-2566) "
ทางโรงงานผลิตเครื่องดื่มได้ทำการศึกษา ทดลอง และสรุปผลกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้เวลาการผลิตที่เหมาะสม ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและเกิดความสูญเสียผลิตภัณฑ์น้อยที่สุด
ทำให้ลดการสูญเสียผลิตภัณฑ์ได้
การนำขยะอาหารกลับมาใช้ประโยชน์
บริษัท สยามคัลเล็ต จำกัด ในเครื่องบริษัทโอสถสภา รับผิดชอบเรื่องการจัดการของเสียของกลุ่มบริษัท ได้ทำความร่วมมือกับ บริษัท อธิภัทรกิจไฟฟ้า จำกัด
ผู้ประกอบกิจการโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ เพื่อขายเครื่องดื่มเสื่อมคุณภาพไปเป็นส่วนประกอบในวัตถุดิบในการผลิตไฟฟ้าจำนวน 143,490 กิโลกรัม ในปี 2566 และในปีต่อ ๆ ไป
โครงการบริจาคขยะอาหารเพื่อสังคม
"โครงการปุ๋ยอินทรีย์สั่งได้ "
ในปี 2566 บริษัท สยามคัลเล็ต จำกัด ในนามบริษัทโอสถสภา ได้มอบน้ำเสียจากเครื่องดื่มเสื่อมคุณภาพให้กับวัดจากแดง สมุทรปราการ เพื่อพัฒนาเป็น “ปุ๋ยอินทรีย์สั่งได้” ปุ๋ยอินทรีย์จากการหมักของเสีย เศษอาหารจากวัดและชุมชน ร่วมกับเครื่องดื่มเสื่อมคุณภาพ เป็นปุ๋ยอินทรีย์เร่งดอกผลให้งอกงาม เพื่อใช้ภายในวัด มอบให้เกษตรกรในชุมชน และจำหน่ายเพื่อหารายได้ให้แก่วัดจากแดง (วัดตัวอย่างด้านการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม) จำนวน 2,000 กิโลกรัม และ กรุงเทพมหานคร
เพื่อใช้ประโยชน์ในกองงานสวนสาธารณะ จำนวน 10,000 กิโลกรัม รวมเป็นจำนวนการบริจาคขยะอาหารเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ให้กับชุมชนเป็นจำนวนทั้งสิ้น 12,000 กิโลกรัม