การบริจาคและการลงทุนเพื่อสังคม
ผลการดำเนินงาน
การบริจาคและการลงทุนเพื่อสังคม
ชุมชน
ผ่านการสนับสนุนความเป็นพลเมืองดีและการสร้างประโยชน์เพื่อสังคม
“เต๊กเฮงหยู” หรือ “เจริญโดยการช่วยเหลือผู้อื่น” ถือเป็นรากฐานที่โอสถสภายึดมั่นตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัท โอสถสภาเชื่อว่าการลงทุนในชุมชนท้องถิ่นมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้แก่สังคมที่อยู่โดยรอบ ซึ่งสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ย่อมส่งผลให้ธุรกิจสามารถดำเนินการและสร้างการเติบโตได้ดียิ่งขึ้น ในฐานะผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพชั้นนำของไทย โอสถสภามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนโดยรอบทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านการสร้างโอกาสที่เท่าเทียมให้กับผู้คนในสังคม ผ่านโครงการและกิจกรรมเพื่อสังคมที่ มุ่งเน้นในด้านการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาส ส่งเสริมผู้มีความสามารถในท้องถิ่น และสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง
แนวทางการบริหารจัดการ
โอสถสภาเชื่อว่าการลงทุนในชุมชนท้องถิ่นมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิด การเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้แก่สังคมที่อยู่โดยรอบ ซึ่งสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ย่อมส่งผลให้ธุรกิจสามารถดำเนินการและ สร้างการเติบโตได้ดียิ่งขึ้น บริษัทฯ จึงได้ดำเนินการเพื่อสนับสนุนและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนในสังคมผ่านการบริจาคเพื่อการกุศล การมีส่วนร่วมเชิงกลยุทธ์กับชุมชน ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมเชิงพาณิชย์
การสนับสนุนด้านอาชีพเพื่อคนพิการ
การสนับสนุนด้านการศึกษา
ความสัมพันธ์ในชุมชนและสิ่งแวดล้อม
การดำเนินงานที่สำคัญ
การสนับสนุนเพื่อการกีฬาและนักกีฬา
การสนับสนุนเพื่อการกีฬาและนักกีฬามูลค่ารวมกว่า
สมาคมกีฬามวยสากลฯ
สมาคมกีฬายกน้ำหนักฯ
สมาคมกีฬาจักรยานฯ
สมาคมกีฬาตะกร้อฯ
สมาคมกีฬาเทเบิลเทนนิสฯ
สมาคมกีฬาทางอากาศฯ
สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลฯ
การสนับสนุนด้านอาชีพเพื่อคนพิการ
โครงการพลังเพื่อก้าวต่อไป (Life must go on) - การสนับสนุนด้านอาชีพและการพัฒนาแพลตฟอร์มการจัดจำหน่ายออนไลน์เพื่อคนพิการ
โอสถสภาให้การช่วยเหลือผู้ที่เคยเป็นเสาหลักในการดูแลครอบครัว แต่ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย จนทำให้กลายเป็นคนพิการ ผ่านโครงการพลังเพื่อก้าวต่อไป (Life must go on project) มีเป้าหมายเพื่อให้กลุ่มคนพิการดังกล่าวให้สามารถกลับมาสร้าง รายได้ด้วยตนเอง โดยเน้นการส่งเสริมอาชีพเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืน หรือแนวคิด “ให้เบ็ดดีกว่าให้ปลา” โดยปีนี้มูลนิธิโอสถสภาได้ต่อยอดโครงการมูลนิธิโอสถสภา มอบโอกาส สร้างอาชีพ
โดยมอบอาชีพให้แก่คนพิการนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด
ตลอดระยะเวลาที่ดำเนินโครงการฯ โอสถสภาได้สั่งสมองค์ความรู้ ซึ่งนำไปสู่การสร้าง เครือข่ายความร่วมมือร่วมกับองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ กระทรวง แรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมการจัดหางาน หน่วย งานปกครองส่วนท้องถิ่น และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รวมถึงได้ ต่อยอดพัฒนาเสริมสร้างโมเดลใหม่ ๆ ซึ่งสร้างความแข็งแกร่งให้แก่คนพิการ ทั้งการ รวมกลุ่มพึ่งพากันและกัน การแลกเปลี่ยนความรู้และช่องทางการจำหน่ายสินค้า ให้คำ แนะนำเกี่ยวกับแนวทางการทำการตลาด ส่งเสริมการขาย และช่วยสร้างแบรนด์ให้แก่ สินค้าของคนพิการในโครงการฯ ได้แก่ สินค้าเกษตรปลอดภัยใช้ชื่อแบรนด์ ‘กินดี’ ส่วนงานจักสานใช้ชื่อแบรนด์ว่า ‘แฮนดี้’ และเฟอร์นิเจอร์งานไม้ใช้ชื่อแบรนด์ ‘อยู่ดี’ นอกจากนี้ ยังได้สร้างเพจกินดีอยู่ดีแฮนดี้ เพื่อขยายช่องทางการทำตลาดออนไลน์ให้ เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญยังได้สนับสนุนให้คนพิการในโครงการเปลี่ยนจากผู้รับ เป็นผู้ให้ แบ่งปันโอกาสที่ตนเคยได้รับให้แก่คนอื่น ๆ รวมถึงได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้โดย คนพิการเพื่อคนพิการ เพื่อถ่ายทอดความรู้และทักษะให้แก่สมาชิกใหม่และผู้ที่สนใจ
ในปี 2566 แบรนด์กินดี อยู่ดี แฮนดี้ ช่วยสร้างรายได้ให้กับคนพิการ รวมถึงสมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแลคนพิการ
รวมผู้ได้ประโยชน์กว่า
โดยมียอดขายกว่า
การขยายช่องทางการขายผ่านออนไลน์
Facebook Page: กินดี อยู่ดี แฮนดี้
พื้นที่สื่อสารการสนับสนุนอาชีพของคนพิการของโอสถสภา
ช่องทางซื้อขายสินค้าของคนพิการในโครงการมาตรา 35 และเครื่อข่าย
Facebook Group: กินดี อยู่ดี มีโอกาส
พื้นที่ออนไลน์เพื่อเป็นพื้นที่ศูนย์กลางการซื้อขายสินค้าจากคนพิการทั่วไป
การบริจาคและการลงทุนเพื่อสังคม
สัดส่วนแยกตามประเภท